วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่างปั้น

ช่างปั้น

ช่างปั้น คือ บุคคลประเภทหนึ่ง ที่มีทั้งฝีมือ และ ความสามารถเป็นช่าง อาจกระทำการประมวลวัสดุต่างๆ อาทิ ดิน ปูน ขี้ผึ้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง มาประกอบเข้าด้วยกัน สร้างเป็นรูปทรงที่มีศิลปะลักษณะ พร้อมอยู่ในรูปวัตถุที่ได้สร้าง ขึ้นนั้นได้เป็นอย่างดี และ มีคุณค่าในทางศิลปกรรม
พระพุทธรูปปูนปั้นสมัยสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
รูปภาพ พระพุทธรูปปูนปั้นสมัยสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 
งานปั้น และ ช่างผู้ทำงานปั้นนี้ เมื่อสมัยโบราณที่ล่วงๆ ไปนั้นเรียกว่า “งานปั้น” และ “ช่างปั้น” แต่ในปัจจุบัน “งานปั้น” เปลี่ยนไปเป็น “ประติมากรรม” ซึ่งมีนัยว่า มาแต่คำภาษาบาลีว่า ปฏิมากมฺม หรือในภาษาสันสกฤตว่า ปรฺติมากรฺม ส่วนคำว่า “ช่างปั้น” ก็ได้รับความนิยม เรียกว่า “ประติมากร”
ช่าง ปั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นช่างที่มีความสำคัญ จัดอยู่ในลำดับรองถัดลงมาแต่ช่างเขียน ความสำคัญของงานปั้น และ ช่างปั้น จึงเป็นรองงานเขียน และ ช่างเขียน กระนั้นก็ดี ช่างปั้น และ งานปั้นก็ยังมีความสำคัญ หรือ มีอิทธิพล เหนืองานช่างประเภทอื่นอยู่หลายประเภทด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องด้วยงานช่างบางประเภท ต้องอาศัยวิธีการบางอย่าง ของช่างปั้นนำไปเป็นแบบ ดำเนินการทำงานช่างประเภทนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้
งานปั้นอย่างไทย หรือ งานปั้นแบบไทยประเพณี มักเป็นงานปั้นที่มีรูปลักษณ์ โน้มไปในรูปแบบที่เป็นลักษณะ รูปประดิษฐ์ หรือ ที่เรียกว่า ”อดุมคตินิยม“ ตามคติความเชื่อในหมู่คนส่วนมากแต่อดีต เนื่องด้วยเป็นงานศิลปกรรม ที่ได้รับการจัดให้มีขึ้น สำหรับหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย และ สร้างเสริมความสำคัญแก่ถาวรวัตถุ และถาวรสถานทั้งใน ฝ่ายศาสนจักร และ ฝ่ายอาณาจักรซึ่งมีคตินิยมรูปแบบที่เป็นลักษณะ “บุคลาธิษฐาน” เป็นสำคัญ
งาน ปั้นแบบไทยประเพณี ที่บรรดาช่างปั้นแต่อดีต ได้สร้างสรรค์ขึ้นไว้นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท งานปั้น แต่ละประเภทยังประกอบการขึ้นเป็นงานปั้น ด้วยวิธีการ และ กระบวนการต่างๆ กัน ซึ่งขั้นตอนการทำงานของช่างปั้น และ งานปั้นประเภทต่างๆ มีดังต่อไปนี้

งานปั้นดิน

งาน ปั้นดิน ซึ่งได้ทำขึ้นเป็นงานปั้นแบบไทยประเพณี ด้วยโบราณวิธี ตามความรู้ของช่างปั้นแต่ก่อนนั้น อาจ จำแนกงานปั้น และ วิธีการปั้นดินออกเป็นแต่ละประเภท คือ
  1. งานปั้นดินดิบ งานปั้นประเภทนี้ใช้ดินเหนียว ที่นำมาจากแหล่งดินในธรรมชาติทั่วไป หากต้องการให้มีความแข็งแรง และคงทนอยู่ได้นานๆ จึงนำเอาวัสดุบางอย่างผสมร่วมเข้ากับเนื้อดิน เพื่อเสริมให้ดินมีโครงสร้างแข็งแรงขึ้นเป็นพิเศษ ได้แก่ กระดาษฟาง กระดาษข่อย และตัวไพ่จีน เป็นต้น
  2. งานปั้นดินเผา เป็นงานปั้นประเภทใช้ดินเหนียว ซึ่งนำมาจากแหล่งดินในธรรมชาติทั่วไป เช่นเดียวกับดินที่ ใช้ในงานปั้นดินดิบ แต่เนื้อดินที่จะใช้ในงานปั้นดินเผา ต้องใช้ทรายแม่น้ำ ที่ผ่านการร่อนเอาแต่ทรายละเอียดผสม ร่วมกับเนื้อดินแล้ว นวดดินกับทรายให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน และทำให้เนื้อดินแน่น อนึ่ง การที่ใช้ทรายผสม ร่วมกับดินเหนียวเช่นนี้ ก็เพื่อช่วยมิให้เนื้อดินแตกร้าว เมื่อแห้งสนิท และ นำเข้าเผาไฟให้สุก
งาน ปั้นดินดิบ และ งานปั้นดินเผา ในลักษณะงานปั้นแบบไทยประเพณี ช่างปั้นอาศัยเครื่องมือร่วมด้วยกับการปั้นด้วยมือของช่างปั้นเองด้วย เครื่องมือ สำหรับงานปั้นดินอย่างโบราณวิธี มีดังนี้
  1. ไม้ขูด ใช้สำหรับขูด ควักดิน
  2. ไม้เนียน ใช้สำหรับปั้นแต่งส่วนย่อยๆ
  3. ไม้กวด ใช้สำหรับกวดดินให้เรียบ
  4. ไม้กราด ใช้สำหรับขูดผิวดิน ส่วนที่ไม่ต้องการออกจากงานปั้น
เครื่องมือ สำหรับงานปั้นอาจจะมีจำนวนมาก หรือน้อยชิ้น หรือมีต่างๆ ไปตามแต่ความต้องการ และจำเป็น สำหรับช่างปั้นแต่ละคน

งานปั้นปูน

ปูน เป็นวัสดุได้มาจากหินปูน หรือ เปลือกหอยทะเล เผาไหม้ทำให้เป็นผง ถ้าปูนทำขึ้นจากหินปูน เรียกว่า ปูนหิน ถ้าทำขึ้นจากเปลือกหอยเรียกว่า ปูนหอย ปูนทั้งสองชนิดนี้สีขาวจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปูนขวา”
ปูน หิน ปูนหอย หรือปูนขาวนี้ ลักษณะเป็นผงสีขาว เมื่อนำมาแช่น้ำไว้สักพักหนึ่งแล้วนำมานวด หรือตำให้เนื้อปูนจับตัวเข้าด้วยกัน เนื้อปูนจะเหนียวเกาะกันแน่นพอสมควร ขณะที่เนื้อปูนยังอ่อนตัวอยู่นี้ เหมาะเป็นวัสดุดิบนำมาใช้ปั้น ทำเป็นรูปภาพ หรือ ทำเป็นลวดลายต่างๆ ใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ต้องการ ภายหลังที่เนื้อปูนแห้งสนิทจะจับตัวแข็งคงรูป ดั่งที่ปั้นแต่งขึ้นไว้แต่แรก ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นวัสดุดิบที่มีคุณภาพแข็งถาวรอยู่ได้นานๆ ปี ดังนี้ ปูนขาว ซึ่งได้จากหินปูนก็ดี เปลือกหอยทะเลก็ดี จึงเป็นวัสดุดิบที่ช่างปั้น ได้นำมาใช้สร้างทำงานปั้นแต่โบราณกาลมากระทั่งปัจจุบัน
งานปั้น ปูน ซึ่งได้รับการสร้างขึ้น เป็นงานปั้นแบบไทยประเพณี เป็นความรู้ และ วิธีการเฉพาะงานของช่างปั้น แต่โบราณนั้น อาจลำดับวิธี และ กระบวนการปั้นงานปูนปั้นให้ทราบดังต่อไปนี้

ปูนปั้นและการเตรียมปูน

ปูน ที่เป็นวัสดุดิบนำมาใช้ทำงานปั้นปูน คือ ปูนขาว จะต้องได้รับการเตรียมการให้มีคุณภาพเหนียว และ จับตัวแข็งแกร่ง เมื่อภายหลังปูนปั้นนั้นแห้งสนิทแล้ว ด้วยการประสมน้ำยา และ วัสดุบางชนิด เพื่อเพิ่มคุณภาพ คือ น้ำกาว อย่างหนึ่ง กับน้ำมันพืชอย่างหนึ่ง ปูนขาวซึ่งเนื้อปูนพร้อมจะใช้ทำงานปั้น ได้เรียกว่า ปูนน้ำกาว ส่วนปูนขาว ซึ่งเนื้อปูนผสมด้วนน้ำมันขึ้นเป็นเนื้อปูนเรียกว่า ปูนน้ำมัน
ปูน น้ำกาว ประกอบด้วย ปูนขาว ทรายแม่น้ำ กาวหนังสัตว์ น้ำตาลอ้อย และ กระดาษฟางเล็กน้อย เหตุที่ต้องใช้ กระดาษฟาง และ น้ำตาลอ้อยผสมร่วมกับเนื้อปูน เพราะกระดาษฟาง นั้นเป็นสิ่งช่วยเสริมโครงสร้าง ในเนื้อปูนให้ยึดกันมั่นคง และ ช่วยให้ปูนไม่แตกร้าว เมื่อเกิดการหด หรือ ขยายตัว ส่วนน้ำตาลอ้อย ที่นำมาใช้ผสมปูนก็เพื่ออาศัยเป็นตัวเร่งให้ปูนจับตัวแข็งแรงเร็วขึ้น อาจทรงตัวอยู่ได้ ในขณะที่ยังทำการปั้นไม่แล้วเสร็จ
ปูนน้ำมันประกอบด้วย ปูนขาว ชัน น้ำมันตั้งอิ้ว ซึ่งเป็นน้ำมันพืช ที่สกัดมาจากเมล็ดในของผลไม้จากต้น “ทั้ง” หรือ “ทั่ง” (Aleurites Fordii) น้ำมันชนิดนี้ทำมาแต่เมืองจีน เรียกว่า ทั้งอิ้ว แปลว่า น้ำมันจากต้นทั้ง คนไทยเรียกตาม ถนัดปากว่า “ตั้งอิ้ว” และ กระดาษฟางเล็กน้อย

งานปั้นปูน

ปูน เป็นวัสดุได้มาจากหินปูน หรือ เปลือกหอยทะเล เผาไหม้ทำให้เป็นผง ถ้าปูนทำขึ้นจากหินปูน เรียกว่า ปูนหิน ถ้าทำขึ้นจากเปลือกหอยเรียกว่า ปูนหอย ปูนทั้งสองชนิดนี้สีขาวจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปูนขวา”
ปูน หิน ปูนหอย หรือปูนขาวนี้ ลักษณะเป็นผงสีขาว เมื่อนำมาแช่น้ำไว้สักพักหนึ่งแล้วนำมานวด หรือตำให้เนื้อปูนจับตัวเข้าด้วยกัน เนื้อปูนจะเหนียวเกาะกันแน่นพอสมควร ขณะที่เนื้อปูนยังอ่อนตัวอยู่นี้ เหมาะเป็นวัสดุดิบนำมาใช้ปั้น ทำเป็นรูปภาพ หรือ ทำเป็นลวดลายต่างๆ ใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ต้องการ ภายหลังที่เนื้อปูนแห้งสนิทจะจับตัวแข็งคงรูป ดั่งที่ปั้นแต่งขึ้นไว้แต่แรก ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นวัสดุดิบที่มีคุณภาพแข็งถาวรอยู่ได้นานๆ ปี ดังนี้ ปูนขาว ซึ่งได้จากหินปูนก็ดี เปลือกหอยทะเลก็ดี จึงเป็นวัสดุดิบที่ช่างปั้น ได้นำมาใช้สร้างทำงานปั้นแต่โบราณกาลมากระทั่งปัจจุบัน
งานปั้น ปูน ซึ่งได้รับการสร้างขึ้น เป็นงานปั้นแบบไทยประเพณี เป็นความรู้ และ วิธีการเฉพาะงานของช่างปั้น แต่โบราณนั้น อาจลำดับวิธี และ กระบวนการปั้นงานปูนปั้นให้ทราบดังต่อไปนี้

ปูนปั้นและการเตรียมปูน

ปูน ที่เป็นวัสดุดิบนำมาใช้ทำงานปั้นปูน คือ ปูนขาว จะต้องได้รับการเตรียมการให้มีคุณภาพเหนียว และ จับตัวแข็งแกร่ง เมื่อภายหลังปูนปั้นนั้นแห้งสนิทแล้ว ด้วยการประสมน้ำยา และ วัสดุบางชนิด เพื่อเพิ่มคุณภาพ คือ น้ำกาว อย่างหนึ่ง กับน้ำมันพืชอย่างหนึ่ง ปูนขาวซึ่งเนื้อปูนพร้อมจะใช้ทำงานปั้น ได้เรียกว่า ปูนน้ำกาว ส่วนปูนขาว ซึ่งเนื้อปูนผสมด้วนน้ำมันขึ้นเป็นเนื้อปูนเรียกว่า ปูนน้ำมัน
ปูน น้ำกาว ประกอบด้วย ปูนขาว ทรายแม่น้ำ กาวหนังสัตว์ น้ำตาลอ้อย และ กระดาษฟางเล็กน้อย เหตุที่ต้องใช้ กระดาษฟาง และ น้ำตาลอ้อยผสมร่วมกับเนื้อปูน เพราะกระดาษฟาง นั้นเป็นสิ่งช่วยเสริมโครงสร้าง ในเนื้อปูนให้ยึดกันมั่นคง และ ช่วยให้ปูนไม่แตกร้าว เมื่อเกิดการหด หรือ ขยายตัว ส่วนน้ำตาลอ้อย ที่นำมาใช้ผสมปูนก็เพื่ออาศัยเป็นตัวเร่งให้ปูนจับตัวแข็งแรงเร็วขึ้น อาจทรงตัวอยู่ได้ ในขณะที่ยังทำการปั้นไม่แล้วเสร็จ
ปูนน้ำมันประกอบด้วย ปูนขาว ชัน น้ำมันตั้งอิ้ว ซึ่งเป็นน้ำมันพืช ที่สกัดมาจากเมล็ดในของผลไม้จากต้น “ทั้ง” หรือ “ทั่ง” (Aleurites Fordii) น้ำมันชนิดนี้ทำมาแต่เมืองจีน เรียกว่า ทั้งอิ้ว แปลว่า น้ำมันจากต้นทั้ง คนไทยเรียกตาม ถนัดปากว่า “ตั้งอิ้ว” และ กระดาษฟางเล็กน้อย

เครื่องมืองานปั้นปูน

เครื่อง มือ สำหรับงานปั้นปูน ของช่างปั้นแต่ละคน เมื่อสมัยก่อนก็ดี หรือ สำหรับช่างปั้นปูนปัจจุบันก็ดี มีเครื่องมือไม่มากชิ้น ทั้งนี้เป็นด้วยช่างปั้นปูน พอใจจะใช้ฝีมือของตัวเองมากกว่า จะใช้เครื่องมือช่วย ในการปั้นก็เฉพาะที่จำเป็น หรือ ในส่วนที่ใช้นิ้วมือปั้นทำส่วนย่อยๆ ในงานปั้นนั้นไม่ถนัด
เครื่อง มือ สำหรับงานปั้น ของช่างปั้นปูนมักทำขึ้นด้วยไม้ไผ่ โดยช่างปั้นปูนแต่ละคนจะทำขึ้นใช้เอง ตามความเหมาะสมแก่งาน และ ถนัดมือช่างเอง ที่พอยกขึ้นเป็นตัวอย่าง และอธิบายให้ทราบ มีดังต่อไปนี้
  1. เกรียง เกรียงสำหรับงานปั้นปูน มีหลายขนาด ใช้สำหรับตัก ป้าย ปาด แตะ แต่งปูนเพื่อขึ้นรูปประเภทต่างๆ หรือ ขูดแต่งผิวปูน
  2. ไม้กวด ทำด้วยไผ่เหลาเป็นชิ้นแบนๆ ใช้สำหรับปาดปูน แต่ง และ กวดผิวปูนให้เรียบเกลี้ยง
  3. ไม้เนียน ทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นชิ้นแบนอย่างท้องปลิง ปลายข้างหนึ่งปาดเฉียง ใช้สำหรับปั้นแต่งส่วนย่อยๆ ในงานปั้นปูน เช่นขีดทำเป็นเส้น ทำรอยบากขอบลวดลาย
  4. ไม้เล็บมือ ทำด้วยไม้ไผ่กิ่งเล็กๆ ช่างปั้นบางคนเรียกว่า ไม้แวว ใช้สำหรับกด ทำเป็นวงกลมล้อมลายตาไก่บ้าง ลายมุกบ้าง ไม้เล็บมือนี้ อาจทำขึ้นไว้หลายอัน และต่างขนาดกันเพื่อให้เหมาะสมแก่งานที่จะปั้น
  5. ขวาน ทำด้วยเหล็กใส่ด้ามไม้ ใช้สำหรับ ฟัน หรือ เฉาะพื้นปูนให้เป็นรอยถี่ๆ เพื่อช่วยให้ปูนที่จะปั้นทับลงบนฝา หรือ พื้นปูนเกาะ หรือ จับติดแน่น
  6. ตะลุมพุก ทำด้วยไม้รูปทรงกระบอกสั้นๆ ต่อด้ามไม้ยาวขนาดจับถนัด ใช้สำหรับตอก “ทอย” ลงบนพื้นปูน หรือพื้นไม้

อุปกรณ์สำหรับงานปั้นปูน

ในงานปั้นปูน ยังต้องการอุปกรณ์บางสิ่ง นำมาใช้ประกอบร่วมในการทำงานปั้นปูนให้มีคุณภาพ และ เป็นผลสำเร็จอย่างดี ได้แก่
  1. ทอย คือไม้ชิ้นเล็กๆ ยาวประมาณ ๒ ถึง ๓ นิ้ว เหลาปลายให้แหลม ใช้สำหรับตอกลงบนพื้นปูน หรือ พื้นไม้ เพื่อเป็นที่ให้ปูน ซึ่งจะปั้นติดบนพื้นชนิดนั้นๆ เกาะยึดพื้นได้มั่นคง
  2. อ่างดินเผา เป็นอ่างขนาดย่อม พอใช้ใส่น้ำสะอาด ไว้ชุบล้างเครื่องมือปั้น
  3. ผ้าขาว ผ้าผืนเล็ก ชุบน้ำให้ชุ่ม ใช้สำหรับลูบแต่งผิวปูน หรือ ลูบเครื่องมือปั้นให้เปียกอยู่เสมอระหว่างทำงานปั้น
อนึ่ง เครื่องมือปั้น และ อุปกรณ์สำหรับงานปั้นนี้ อาจจะมีลักษณะต่างๆ กัน หรือ มีจำนวนมากน้อยตามความถนัด ความต้องการ และ กลวิธีทำงานของช่าง

ครื่องมืองานปั้นปูน

เครื่อง มือ สำหรับงานปั้นปูน ของช่างปั้นแต่ละคน เมื่อสมัยก่อนก็ดี หรือ สำหรับช่างปั้นปูนปัจจุบันก็ดี มีเครื่องมือไม่มากชิ้น ทั้งนี้เป็นด้วยช่างปั้นปูน พอใจจะใช้ฝีมือของตัวเองมากกว่า จะใช้เครื่องมือช่วย ในการปั้นก็เฉพาะที่จำเป็น หรือ ในส่วนที่ใช้นิ้วมือปั้นทำส่วนย่อยๆ ในงานปั้นนั้นไม่ถนัด
เครื่อง มือ สำหรับงานปั้น ของช่างปั้นปูนมักทำขึ้นด้วยไม้ไผ่ โดยช่างปั้นปูนแต่ละคนจะทำขึ้นใช้เอง ตามความเหมาะสมแก่งาน และ ถนัดมือช่างเอง ที่พอยกขึ้นเป็นตัวอย่าง และอธิบายให้ทราบ มีดังต่อไปนี้
  1. เกรียง เกรียงสำหรับงานปั้นปูน มีหลายขนาด ใช้สำหรับตัก ป้าย ปาด แตะ แต่งปูนเพื่อขึ้นรูปประเภทต่างๆ หรือ ขูดแต่งผิวปูน
  2. ไม้กวด ทำด้วยไผ่เหลาเป็นชิ้นแบนๆ ใช้สำหรับปาดปูน แต่ง และ กวดผิวปูนให้เรียบเกลี้ยง
  3. ไม้เนียน ทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นชิ้นแบนอย่างท้องปลิง ปลายข้างหนึ่งปาดเฉียง ใช้สำหรับปั้นแต่งส่วนย่อยๆ ในงานปั้นปูน เช่นขีดทำเป็นเส้น ทำรอยบากขอบลวดลาย
  4. ไม้เล็บมือ ทำด้วยไม้ไผ่กิ่งเล็กๆ ช่างปั้นบางคนเรียกว่า ไม้แวว ใช้สำหรับกด ทำเป็นวงกลมล้อมลายตาไก่บ้าง ลายมุกบ้าง ไม้เล็บมือนี้ อาจทำขึ้นไว้หลายอัน และต่างขนาดกันเพื่อให้เหมาะสมแก่งานที่จะปั้น
  5. ขวาน ทำด้วยเหล็กใส่ด้ามไม้ ใช้สำหรับ ฟัน หรือ เฉาะพื้นปูนให้เป็นรอยถี่ๆ เพื่อช่วยให้ปูนที่จะปั้นทับลงบนฝา หรือ พื้นปูนเกาะ หรือ จับติดแน่น
  6. ตะลุมพุก ทำด้วยไม้รูปทรงกระบอกสั้นๆ ต่อด้ามไม้ยาวขนาดจับถนัด ใช้สำหรับตอก “ทอย” ลงบนพื้นปูน หรือพื้นไม้

อุปกรณ์สำหรับงานปั้นปูน

ในงานปั้นปูน ยังต้องการอุปกรณ์บางสิ่ง นำมาใช้ประกอบร่วมในการทำงานปั้นปูนให้มีคุณภาพ และ เป็นผลสำเร็จอย่างดี ได้แก่
  1. ทอย คือไม้ชิ้นเล็กๆ ยาวประมาณ ๒ ถึง ๓ นิ้ว เหลาปลายให้แหลม ใช้สำหรับตอกลงบนพื้นปูน หรือ พื้นไม้ เพื่อเป็นที่ให้ปูน ซึ่งจะปั้นติดบนพื้นชนิดนั้นๆ เกาะยึดพื้นได้มั่นคง
  2. อ่างดินเผา เป็นอ่างขนาดย่อม พอใช้ใส่น้ำสะอาด ไว้ชุบล้างเครื่องมือปั้น
  3. ผ้าขาว ผ้าผืนเล็ก ชุบน้ำให้ชุ่ม ใช้สำหรับลูบแต่งผิวปูน หรือ ลูบเครื่องมือปั้นให้เปียกอยู่เสมอระหว่างทำงานปั้น
อนึ่ง เครื่องมือปั้น และ อุปกรณ์สำหรับงานปั้นนี้ อาจจะมีลักษณะต่างๆ กัน หรือ มีจำนวนมากน้อยตามความถนัด ความต้องการ และ กลวิธีทำงานของช่าง

วิธีการและขั้นตอนการปั้น

งาน ปั้นปูนน้ำกาว และ งานปั้นปูนน้ำมัน ดำเนินการวิธีการ และ ขั้นตอนในการปั้น ไม่แตกต่างกันมากนัก มีกระบวนการปั้น ตามขั้นตอนต่อไปนี้

งานปั้นปูนบนพื้นราบ

การ ร่างแบบ ช่างปั้นปูนซึ่งจะทำงานปั้นลวดลาย รูปภาพต่างๆ ลงบนพื้นชนิดที่เป็นฝาผนัง กำแพงถือปูน หรือ พื้นไม้ บางคนอาจร่างแบบลงบนกระดาษแผ่นเล็ก พอให้เห็นเค้าโครงความคิดของตน แล้วจึงนำไปขยายแบบร่าง ตามขนาดที่จะทำงานปั้นจริงลงบนพื้นที่นั้น แต่ช่างปั้นบางคน ที่ทรงไว้ซึ่งความรู้ลึกซึ้งมีประสบการณ์มาก และ ฝีมือกล้าแข็ง มักทำการร่างแบบขนาดเท่าจริงลงบนพื้น ที่จะปั้นนั้นเลยทีเดียว
งานร่างแบบ สำหรับปั้นนี้ ช่างปั้นจะใช้ถ่านไม้ชิ้นเล็กๆ ซึ่งทำจากต้นพริก เผาให้สุกเป็นถ่านเขียนเส้นร่างด้วย เส้นร่างถ่าน จนได้รูปร่างสมบูรณ์ ส่วนสัดถูกต้อง ช่องไฟงามเป็นเรื่องราวครบถ้วน ดังวัตถุประสงค์แล้ว จึงใช้พู่กันชนิดเขียนเส้นขนาดเขื่องๆ จุ่ม “สีครู” ลักษณะเป็นสีครามอมดำ (Indigo) ทำขึ้นจากเขม่าผสมกับยางรงฝนกับน้ำ ให้เข้ากันเขียนทับไปบนเส้นร่าง เพื่อเน้นเส้นร่างนั้นให้ชัด และ รูปรอยที่ร่างขึ้นไว้ไม่ลบเลือนไปก่อนจะทำงานปั้นให้เสร็จ แล้วจึงใช้ผ้าเนื้อนุ่มๆ ปัดเส้นร่างด้วยถ่านไม้นั้นออกให้หมด คงเหลืออยู่แต่เส้นสีครูเป็นโครงร่างที่ชัดเจน เป็นแบบร่างที่จะปั้นปูนทับในลำดับต่อไป

การเตรียมพื้นสำหรับงานปั้นปูน

พื้นชนิดก่ออิฐถือปูน มีการเตรียมพื้นดังนี้
พื้น ชนิดก่ออิฐถือปูน มักจะฉาบปูนผิวเรียบเกลี้ยง เป็นปรกติอยู่ก่อนแล้ว การจะปั้นปูนเป็นลวดลาย หรือรูปภาพต่างๆ ติดลงบนพื้นปูนฉาบเรียบเกลี้ยง ช่างปั้นปูนจะต้องทำผิวพื้นปูนฉาบ ให้เกิดเป็นผิวขรุขระขึ้น ในบริเวณที่ได้ร่างเส้นเป็นแบบร่างลวดลาย หรือ รูปภาพขึ้นก่อนนั้นโดยใช้ขวานเฉาะเบาๆ ผิวปูนฉาบที่เฉาะให้เป็นรอยนี้จะเป็นที่ปูนปั้น เกาะจับติดทนอยู่ได้นานปี ในกรณีงานปั้นปูนเป็นลวดลาย หรือ รูปภาพต่างๆ ที่ต้องการปั้นให้นูนสูงขึ้นจากพื้นมาก งานปั้นตรงส่วนนี้ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นช่างปั้นปูน จะต้องตอก “ทอย” ซึ่งมักทำด้วยไม้ไผ่แก่ๆ เหลาทำเป็นลูกทอย ตอกลงที่พื้นปูนฉาบให้แน่น เหลือโคนทอยขึ้นมาตามขนาดที่ต้องการ ให้เป็นแกนสำหรับปูนปั้น ซึ่งช่างปั้นจะปั้นปูน พอกขึ้นเป็นลวดลาย หรือ รูปภาพต่างๆ ที่ต้องการให้นูนสูงนั้นต่อไป
พื้นรองรับงานปั้นปูน ที่ใช้ไม้รองรับ พื้นชนิดนี้เมื่อผ่านการเขียนร่างแบบขึ้นไว้บนพื้นแล้ว ช่างปั้นก็จะนำ “น้ำเทือกปูน” คือ ปูนปั้นที่ทำให้เหลวโดยเติมน้ำกาว หรือ น้ำมันให้มากสักหน่อย ทาลงบนพื้นไม้บริเวณภายในลวดลาย หรือ รูปภาพที่ได้ร่างเป็นแบบไว้นั้นให้ทั่วกัน เมื่อปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ก็จะเป็นผิวหยาบๆ ซึ่งช่างปั้นจะได้ปั้นทับ ลงเป็นลวดลาย หรือ รูปภาพเกาะจับ และ ติดทนอยู่ได้นานปี

วิธีการและขั้นตอนการปั้น

งานขึ้นรูป คือ การก่อตัวด้วยปูนขึ้นเป็นรูปทรงเลาๆ พอเป็นเค้าโครงที่จะปั้นปูนพอกเพิ่มเติมขึ้นตามลำดับ จนเป็นงานปั้นที่สมบูรณ์ การขึ้นรูปด้วยปูน ขั้นแรกต้องใส่ปูนให้จับติดกับพื้นส่วนที่เฉาะทำผิวให้ขรุขระนั้นขึ้นเป็น “รูปโกลน” หรือ ใส่ปูน ที่ขึ้นรูปชั้นแรกนี้ทิ้งไว้ให้ปูนจับพื้น หรือ เกาะทอยติดแน่น จึงใส่ปูนเพิ่มเติมทับลงเป็นรูปโกลน หรือ รูปโครงร่างนั้น ปั้นขึ้นเป็นรูปทรง โดยรวมของเถา หรือ ตัวลาย หรือ รูปภาพในลักษณะที่เรียกว่า “หุ่น” คือ เป็นรูป ทรงพอให้รู้ว่า เป็นเค้าโครงของสิ่งที่จะปั้นทำให้ชัดเจนต่อไป
งานปั้นรูป คือ การนำปูนมาปั้นเพิ่มเติม หรือ ต่อเติมขึ้นบนรูปโกลน หรือ รูปทรงโครงร่างของรูปภาพ ซึ่งได้ทำเป็นงานขึ้นรูปไว้ ให้ปรากฏเป็นรูปลักษณะที่ชัดเจน ได้ส่วนสัด พร้อมด้วยท่วงท่า ลีลาอาการต้องตามประสงค์ที่ต้อง การจะปั้นให้เป็นลวดลาย หรือ รูปภาพเช่นนั้นๆ
งานปั้นส่วนละเอียด จะเป็นการปั้นแต่ง แสดงส่วนละเอียด ให้ชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทำต่อเมื่อปูนที่ได้ปั้นรูปขึ้นไว้นั้นจับตัว และ หมาดพอสมควร จึงจัดการปั้นปูนเติมแต่ง และ ปั้นทำส่วนละเอียดแต่ละส่วนลำดับกันไป งานปั้น ส่วนละเอียดในงานปั้นปูน แบบไทยประเพณีมักนิยม “กวด” ผิวงานนั้นให้เรียบเกลี้ยง “กวด” คือ กด และ ลูบไล้เบาๆ บนผิวปูน เพื่อทำให้เนื้อแน่น และ เรียบตึงขณะที่ใช้เครื่องมือกวดผิวปูนนี้ ต้องหมั่นเช็ดเครื่องมือด้วยผ้าเปียกน้ำบ่อยๆ เพื่อกันมิให้ปูนติดเครื่องมือ และ ยังช่วยให้การใช้เครื่องมือลูบไล้กวดผิวปูนลื่นเรียบดีอีกด้วย แต่ในงานปั้นปูนน้ำมัน ไม่จำเป็นจะต้องชุบเครื่องมือปั้นให้เปียก หรือ ใช้ผ้าเปียกน้ำเช็ดเครื่องมือ เพื่อป้องกันมิให้ปูนเกาะ เพราะปูนน้ำมันมี เนื้อปูนละเอียดกว่าปูนน้ำกาว ขณะใช้เครื่องมือปั้นกวดผิวงานปั้น น้ำมันซึ่งผสมแทรกอยู่ในเนื้อปูนจะช่วยให้ เครื่องมือลื่นไล้ไปง่ายๆ บนผิวของงานปั้นนั้น
งานปั้นปูนนั้น เมื่อชิ้นงานสำเร็จสมบูรณ์เรียบร้อย เป็นไปดังวัตถุประสงค์ของช่างปั้นแล้ว ปรกติมักปล่อยให้งานปั้นปูนนั้นแห้งไปเอง ซึ่งใช้เวลาไม่สู้นาน และ มักนิยมงานปั้นปูนเป็นสีขาวตามธรรมชาติของปูนขาว หากต้องการตกแต่งเพิ่มเติม ให้สวยงามแลดูมีคุณค่ายิ่งขึ้นอาจทำด้วยวัสดุ และ วิธีการมีดังต่อไปนี้
การตกแต่งด้วยการปิดทองคำเปลว ในขั้นต้นต้องลง “สมุก” ทาเคลือบผิวงานปูนปั้นนั้นให้ทั่วเสียชั้นหนึ่งก่อน เพื่อทำให้ผิวงานปูนปั้นเรียบเกลี้ยง เมื่อสมุกแห้งแล้วจึงทา “รักน้ำเกลี้ยง” ให้ทั่วชิ้นงานปล่อยให้รักน้ำเกลี้ยง ที่ทาทิ้งไว้สักพักหนึ่ง พอรักหมาดได้ที่จึงปิดทองคำเปลวทับ ให้ทั่วงานปูนปั้นชิ้นนั้นๆ ก็จะมีผิวเป็นสีทองคำอร่ามไปทั้งหมด
การตกแต่งด้วยการปิดกระจก มักเป็นงานที่ได้รับการตกแต่ง ต่อเนื่องจากการปิดทองคำเปลว เพิ่มเติมสีสันขึ้นแก่งานปูนปั้นนั้นอีก จึงนำกระจกแก้วบ้าง กระจกหุงบ้าง มาตัด เจียนตามรูปร่าง และ ขนาดที่ต้องการประดับ แต่งลงบนงานปูนปั้นทำเป็น แวว ไส้ลาย พื้นลวดลาย เป็นต้น
การตกแต่งด้วยการเขียนระบายสี ขั้นต้นต้องจัดการเตรียมพื้นผิวชิ้นงานปูนปั้นให้เรียบ และ แน่นด้วยเลือดหมูสด ผสมกับน้ำปูนขาวกวนให้เข้ากัน ทำเป็นน้ำยารองพื้นลักษณะค่อนข้างข้น ใช้น้ำยานี้ทาให้ทั่วชิ้นงานปูนปั้น ผึ่งให้น้ำยาแห้งสนิท จึงใช้สีฝุ่นผสมน้ำกาว นำมาเขียนระบายตกแต่ง ลงบนผิวภายนอกงานปูนปั้นตามวรรณะ ที่ควรจะเป็น และ ตามความเห็นงามของช่าง ผู้ทำการเขียนระบายสีตกแต่งนั้น

งานปั้นปูน ที่เป็นประจักษ์พยานปรากฏมาในอดีต มีดังนี้

งานปั้นปูน ประเภทลวดลายประดับตกแต่ง ตัวอย่างเช่น ลวดลายประดับพระมหาธาตุเจดีย์ ลวดลายประดับ หน้าบัน ลวดลายประดับฐานพระพุทธรูป ฯลฯ
งานปั้นปูน ประเภทองค์ประกอบสถาปัตยกรรม ตัวอย่างเช่น บัวปลายเสา กรอบซุ้มคูหาประตูและหน้าต่าง กรอบหน้าบัน กาบพรหมศร บันแถลง ฯลฯ
งานปั้นปูน ประเภทประติมากรรมติดที่ ตัวอย่างเช่น ภาพปั้นพระพุทธรูปประดับประจำซุ้มคูหา พระมหาธาตุ เจดีย์ ภาพปั้นเรื่องพุทธประวัติประดับฝาผนัง ภาพปั้นทวารบาลประจำข้างกบช่องประตู
งานปั้นปูน ประเภทประติมากรรมลอยตัว ตัวอย่างเช่น พระพุทธปฎิมาประธานประจำพระอุโบสถและ พระวิหาร พระพุทธรูปประจำห้องในพระระเบียง พระบรมรูปฉลองพระองค์พระมหากษัตริย์ รูปพระเถรสำคัญ รูปบุคคลมีชื่อ

งานปั้นรักสมุก

รักสมุก เป็นวัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยรักน้ำเกลี้ยง สมุก น้ำมันยาง และ ปูนแดงเล็กน้อยผสมร่วมเข้าด้วยกัน เป็นเนื้อวัสดุที่อาจปั้นให้เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ดังประสงค์ และ รักสมุกนี้ภายหลังแห้งสนิทแล้วจะแข็ง และ คงรูปอยู่เช่นนั้นได้นาน ไม่แตกหักง่าย หากไม่ถูกกระทบกระทั่งอย่างแรง รักสมุก จึงเป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่ช่างปั้นสมัยก่อนนิยมทำขึ้น สำหรับใช้ปั้นงานปั้นบางชนิด
งานปั้นรักสมุก เป็นผลงานที่ได้รับการสร้างทำขึ้นด้วยวิธี และ กระบวนการปั้นอย่างโบราณวิธี จัดเป็นความรู้ และ กลวิธีประกอบกับฝีมือของช่างปั้นเฉพาะประเภท ที่มีความสำคัญประเภทหนึ่ง วิธีการ และ กระบวนการปั้น ดังต่อไปนี้

การเตรียมรักสมุก

  1. ขั้นต้น นำสมุก ซึ่งผ่านการร่อนเป็นผงละเอียด ผสมกับรักน้ำเกลี้ยงคลุกเคล้าให้เข้ากันพอสมควร ใส่ครกตำ หรือโขลก ไปจนกระทั่งสมุกแตกร่วน คล้ายกับขนมขี้หนูเป็นใช้การได้
  2. ขั้นที่สอง เอาสมุกซึ่งผสมกับรักน้ำเกลี้ยง ที่ได้ตำให้เข้ากันนำขึ้นตั้งไฟ โดยใช้ความร้อนปานกลาง กวนสมุก ให้ร้อนระอุทั่วกันไปจนเหนียว ใกล้จะได้ที่จึงเติม “น้ำปูนใส” ลงผสมกับสมุก กวนเคี่ยวไปจนกระทั่งสมุกเหนียวได้ที่ก็ราไฟ ยกเอาภาชนะใส่สมุกนั้นลงพักไว้
  3. ขั้นที่สาม ควักสมุกที่กวนเคี่ยวได้ที่แล้วเล็กน้อย หยอดลงในน้ำเย็นธรรมดาสักพักหนึ่ง จึงเอาสมุกนั้นขึ้นมาปั้น เป็นรูปทรงกรวย ขนาดต่างๆ กันสัก ๓–๔ อัน ตั้งทิ้งไว้สักวันหนึ่ง หรือกับอีกคืนหนึ่ง เพื่อทดสอบดูว่าสมุกที่กวนเคี่ยวนี้จะทรงตัวอยู่ได้ดี พอเหมาะจะนำมาใช้ทำงานนั้นต่อไปได้หรือไม่
  4. ขั้นสุดท้าย นำสมุกที่ผ่านการทดสอบแล้ว มาปั้นทำให้เป็นแท่งกลมๆ โตขนาดหัวแม่มือยาวประมาณสักฝ่ามือหนึ่ง ทำเตรียมไว้หลายๆ แท่งให้พอแก่ความต้องการใช้ปั้น สมุกแต่ละแท่งต้องทาด้วยปูนแดงผสมน้ำปูนข้นๆ ทาให้ ทั่วทั้งแท่งทุกๆ แท่ง จึงใช้ใบตองสดพันห่อให้มิดชิด เก็บไว้สำหรับจะใช้งานต่อไป

เครื่องมือสำหรับงานปั้นรักสมุก

งานปั้นรักสมุก นอกจากการใช้ฝีมือของช่างปั้นแล้ว ยังอาศัยเครื่องมือบางอย่างสำหรับทำงานปั้นในบาง ส่วนมีดังนี้
  1. ไม้คลึงสมุก เป็นเครื่องมือสำหรับคลึง นวด รักสมุกให้อ่อนตัว ทำให้แบบเป็นแผ่นตามต้องการ
  2. ไม้ตีกระยัง ใช้สำหรับ บด ตี รักสมุกให้นิ่ม และทำเป็นรูปต่างๆ
  3. ไม้เนียน ใช้สำหรับปั้นแต่งเติมเพิ่ม หรือลดรักสมุก หรือกวดผิวเนื้อรักสมุกให้เรียบเกลี้ยง
  4. มีดปลายแหลม ใช้ตัด เจียน ขีดเส้น ช่วยในการปั้น      

    อุปกรณ์ สำหรับงานปั้นรักสมุกที่จะได้ใช้ร่วมในการปั้น มีดังนี้

    1. หินรองตีสมุก ใช้สำหรับรองเพื่อบด หรือตีรักสมุกให้อ่อนตัว หรือบดรักสมุกออกเป็นแผ่น
    2. แม่พิมพ์หิน สำหรับตีพิมพ์รักสมุกใช้ติดประดับงานปั้น ตามตำแหน่งที่ต้องการตกแต่งให้มีลวดลาย ต้องมีไว้หลายชิ้น และแกะทำแม่พิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ เตรียมไว้ให้พอแก่ความต้องการใช้งาน
    แม่พิมพ์หินสบู่ สำหรับตีพิมพ์รักสมุกใช้ติดประดับงานปั้น
    รูปภาพ แม่พิมพ์หินสบู่ สำหรับตีพิมพ์รักสมุกใช้ติดประดับงานปั้น 

    การปั้นรักสมุก มีวิธีการเป็นขั้นเป็นตอนอย่างโบราณวิธี ต่อไปนี้

    1. การปั้นรักสมุกขั้นต้น ต้องนำรักสมุก ที่ได้ผ่านการเตรียม และปั้นทำเป็นแท่งๆ ไว้แล้วมาทำให้เนื้อรักสมุกอ่อนตัว และเนื้อนุ่มพอเหมาะที่ปั้นเป็นรูปต่างๆ ตัดเป็นท่อนสั้นๆ เคล้ากับน้ำมันยางเล็กน้อยให้ทั่ว แล้วนำออกตากแดดจนรักสมุกแต่ละท่อนอ่อนตัวพอสมควร จึงนำมาทุบรวมกันให้เป็นเนื้อเดียว และเหนียวนุ่มพอดี มาคลึงด้วยไม้ คลึงสมุกบนหน้าแผ่นหิน รีดเนื้อรักออกเป็นแผ่นแบบเตรียมไว้สำหรับตัดแบ่งนำมาปั้นขึ้นรูป หรือใช้ตรีพิมพ์กับ แม่พิมพ์ให้เป็นลวดลายต่างๆ ต่อไป
    2. ขั้นที่สอง ใช้รักสมุกปั้นทับลงบนแกน หรือโครงสร้างที่ทำด้วยกระดาษ ไม้ทองหลาง ไม้ระกำ ซึ่งจัดการผูก หรือขึ้นรูปเป็นโครงร่างโกลนๆ ไว้ เป็นต้นว่า กระโหลกกระดาษ ศีรษะหุ่นกระบอก ตุ๊กตาโขน ฯลฯ ปั้นทำรูปทรง ภายนอก และ ส่วนที่เป็นรายลเอียดต่างๆ ตามรูปลักษณะของงานปั้นชิ้นนั้น
    3. ขั้นที่สาม ตกแต่งงานปั้น ด้วยการติดลวดลายต่างๆ ประดับเพิ่มเติมตามตำแหน่งที่ด้วยลวดลายที่เหมาะสม และสวยงาม คือ รักสมุกที่ได้นำมาตี หรือ กดลงในแม่พิมพ์หิน ทำให้เป็นลวดลายต่างๆ ตามแบบในแม่พิมพ์แต่ละแบบๆ นั่นเอง เมื่อจะประดับลวดลาย ติดกับงานปั้นนั้นต้องใช้ “เทือก” ซึ่งมีส่วนประกอบด้วย วัสดุอย่างเดียวกับรักสมุก ที่ได้ทำขึ้นสำหรับปั้น แต่เคี่ยวให้เหนียวขึ้นไม่ถึงกับจับตัวแน่น มาทาลงตรงตำแหน่งที่ต้องการติดลวดลาย แล้วนำเอา ลายที่ตีพิมพ์มาติดลงที่นั้น เมื่อติดลายประดับตกแต่งสำเร็จแล้ว ผึ่งให้แห้ง ลวดลายก็จะติดแน่นทนอยู่ได้นานๆ

    การตกแต่งงานปั้นรักสมุก

    งาน ปั้นด้วยรักสมุก เมื่อสำเร็จเป็นรูปต่างๆ มักเป็นงานปั้นสีดำๆ ไม่สู้งามต้องตาคนทั่วไป ช่างปั้นจึงตกแต่งงานปั้น ด้วยการลงรักปิดทองคำเปลวบ้าง ด้วยการลงสีฝุ่นเขียนระบาย เพื่อให้มีสีสันแก่ชิ้นงานปั้นนั้นบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับความเหมาะสมของงานปั้นด้วยรักสมุกแต่ละชนิด
    งานปั้นด้วยรักสมุก อย่างโบราณวิธีตามแบบแผนของช่างปั้นรักสมุก มีงานปั้นอยู่หลายชนิดด้วยกัน ที่ควรกล่าวถึงพอเป็นตัวอย่าง คือ
    1. งานปั้นหน้าโขน เครื่องประดับส่วนต่างๆ บนศีรษะโขน
    2. งานปั้นประดับตกแต่งเครื่องสวมศีรษะ หรือเครื่องศิราภรณ์ คือ ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า เกี้ยวลอมพอก
    3. งานปั้นพระพักต์พระพุทธรูป หน้าหุ่นกระบอก หน้าหุ่นใหญ่
    4. งานปั้นตีพิมพ์ลวดลายประดับตกแต่งครุภัณฑ์ต่างๆ เช่น แท่น ฐานแบบต่างๆ ตู้ ม้าหมู่
    1. หินรองตีสมุก ใช้สำหรับรองเพื่อบด หรือตีรักสมุกให้อ่อนตัว หรือบดรักสมุกออกเป็นแผ่น
    2. แม่พิมพ์หิน สำหรับตีพิมพ์รักสมุกใช้ติดประดับงานปั้น ตามตำแหน่งที่ต้องการตกแต่งให้มีลวดลาย ต้องมีไว้หลายชิ้น และแกะทำแม่พิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ เตรียมไว้ให้พอแก่ความต้องการใช้งาน
    แม่พิมพ์หินสบู่ สำหรับตีพิมพ์รักสมุกใช้ติดประดับงานปั้น
    รูปภาพ แม่พิมพ์หินสบู่ สำหรับตีพิมพ์รักสมุกใช้ติดประดับงานปั้น 

    การปั้นรักสมุก มีวิธีการเป็นขั้นเป็นตอนอย่างโบราณวิธี ต่อไปนี้

    1. การปั้นรักสมุกขั้นต้น ต้องนำรักสมุก ที่ได้ผ่านการเตรียม และปั้นทำเป็นแท่งๆ ไว้แล้วมาทำให้เนื้อรักสมุกอ่อนตัว และเนื้อนุ่มพอเหมาะที่ปั้นเป็นรูปต่างๆ ตัดเป็นท่อนสั้นๆ เคล้ากับน้ำมันยางเล็กน้อยให้ทั่ว แล้วนำออกตากแดดจนรักสมุกแต่ละท่อนอ่อนตัวพอสมควร จึงนำมาทุบรวมกันให้เป็นเนื้อเดียว และเหนียวนุ่มพอดี มาคลึงด้วยไม้ คลึงสมุกบนหน้าแผ่นหิน รีดเนื้อรักออกเป็นแผ่นแบบเตรียมไว้สำหรับตัดแบ่งนำมาปั้นขึ้นรูป หรือใช้ตรีพิมพ์กับ แม่พิมพ์ให้เป็นลวดลายต่างๆ ต่อไป
    2. ขั้นที่สอง ใช้รักสมุกปั้นทับลงบนแกน หรือโครงสร้างที่ทำด้วยกระดาษ ไม้ทองหลาง ไม้ระกำ ซึ่งจัดการผูก หรือขึ้นรูปเป็นโครงร่างโกลนๆ ไว้ เป็นต้นว่า กระโหลกกระดาษ ศีรษะหุ่นกระบอก ตุ๊กตาโขน ฯลฯ ปั้นทำรูปทรง ภายนอก และ ส่วนที่เป็นรายลเอียดต่างๆ ตามรูปลักษณะของงานปั้นชิ้นนั้น
    3. ขั้นที่สาม ตกแต่งงานปั้น ด้วยการติดลวดลายต่างๆ ประดับเพิ่มเติมตามตำแหน่งที่ด้วยลวดลายที่เหมาะสม และสวยงาม คือ รักสมุกที่ได้นำมาตี หรือ กดลงในแม่พิมพ์หิน ทำให้เป็นลวดลายต่างๆ ตามแบบในแม่พิมพ์แต่ละแบบๆ นั่นเอง เมื่อจะประดับลวดลาย ติดกับงานปั้นนั้นต้องใช้ “เทือก” ซึ่งมีส่วนประกอบด้วย วัสดุอย่างเดียวกับรักสมุก ที่ได้ทำขึ้นสำหรับปั้น แต่เคี่ยวให้เหนียวขึ้นไม่ถึงกับจับตัวแน่น มาทาลงตรงตำแหน่งที่ต้องการติดลวดลาย แล้วนำเอา ลายที่ตีพิมพ์มาติดลงที่นั้น เมื่อติดลายประดับตกแต่งสำเร็จแล้ว ผึ่งให้แห้ง ลวดลายก็จะติดแน่นทนอยู่ได้นานๆ

    การตกแต่งงานปั้นรักสมุก

    งาน ปั้นด้วยรักสมุก เมื่อสำเร็จเป็นรูปต่างๆ มักเป็นงานปั้นสีดำๆ ไม่สู้งามต้องตาคนทั่วไป ช่างปั้นจึงตกแต่งงานปั้น ด้วยการลงรักปิดทองคำเปลวบ้าง ด้วยการลงสีฝุ่นเขียนระบาย เพื่อให้มีสีสันแก่ชิ้นงานปั้นนั้นบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับความเหมาะสมของงานปั้นด้วยรักสมุกแต่ละชนิด
    งานปั้นด้วยรักสมุก อย่างโบราณวิธีตามแบบแผนของช่างปั้นรักสมุก มีงานปั้นอยู่หลายชนิดด้วยกัน ที่ควรกล่าวถึงพอเป็นตัวอย่าง คือ
    1. งานปั้นหน้าโขน เครื่องประดับส่วนต่างๆ บนศีรษะโขน
    2. งานปั้นประดับตกแต่งเครื่องสวมศีรษะ หรือเครื่องศิราภรณ์ คือ ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า เกี้ยวลอมพอก
    3. งานปั้นพระพักต์พระพุทธรูป หน้าหุ่นกระบอก หน้าหุ่นใหญ่
    4. งานปั้นตีพิมพ์ลวดลายประดับตกแต่งครุภัณฑ์ต่างๆ เช่น แท่น ฐานแบบต่างๆ ตู้ ม้าหมู่
    1. หินรองตีสมุก ใช้สำหรับรองเพื่อบด หรือตีรักสมุกให้อ่อนตัว หรือบดรักสมุกออกเป็นแผ่น
    2. แม่พิมพ์หิน สำหรับตีพิมพ์รักสมุกใช้ติดประดับงานปั้น ตามตำแหน่งที่ต้องการตกแต่งให้มีลวดลาย ต้องมีไว้หลายชิ้น และแกะทำแม่พิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ เตรียมไว้ให้พอแก่ความต้องการใช้งาน
    แม่พิมพ์หินสบู่ สำหรับตีพิมพ์รักสมุกใช้ติดประดับงานปั้น
    รูปภาพ แม่พิมพ์หินสบู่ สำหรับตีพิมพ์รักสมุกใช้ติดประดับงานปั้น 

    การปั้นรักสมุก มีวิธีการเป็นขั้นเป็นตอนอย่างโบราณวิธี ต่อไปนี้

    1. การปั้นรักสมุกขั้นต้น ต้องนำรักสมุก ที่ได้ผ่านการเตรียม และปั้นทำเป็นแท่งๆ ไว้แล้วมาทำให้เนื้อรักสมุกอ่อนตัว และเนื้อนุ่มพอเหมาะที่ปั้นเป็นรูปต่างๆ ตัดเป็นท่อนสั้นๆ เคล้ากับน้ำมันยางเล็กน้อยให้ทั่ว แล้วนำออกตากแดดจนรักสมุกแต่ละท่อนอ่อนตัวพอสมควร จึงนำมาทุบรวมกันให้เป็นเนื้อเดียว และเหนียวนุ่มพอดี มาคลึงด้วยไม้ คลึงสมุกบนหน้าแผ่นหิน รีดเนื้อรักออกเป็นแผ่นแบบเตรียมไว้สำหรับตัดแบ่งนำมาปั้นขึ้นรูป หรือใช้ตรีพิมพ์กับ แม่พิมพ์ให้เป็นลวดลายต่างๆ ต่อไป
    2. ขั้นที่สอง ใช้รักสมุกปั้นทับลงบนแกน หรือโครงสร้างที่ทำด้วยกระดาษ ไม้ทองหลาง ไม้ระกำ ซึ่งจัดการผูก หรือขึ้นรูปเป็นโครงร่างโกลนๆ ไว้ เป็นต้นว่า กระโหลกกระดาษ ศีรษะหุ่นกระบอก ตุ๊กตาโขน ฯลฯ ปั้นทำรูปทรง ภายนอก และ ส่วนที่เป็นรายลเอียดต่างๆ ตามรูปลักษณะของงานปั้นชิ้นนั้น
    3. ขั้นที่สาม ตกแต่งงานปั้น ด้วยการติดลวดลายต่างๆ ประดับเพิ่มเติมตามตำแหน่งที่ด้วยลวดลายที่เหมาะสม และสวยงาม คือ รักสมุกที่ได้นำมาตี หรือ กดลงในแม่พิมพ์หิน ทำให้เป็นลวดลายต่างๆ ตามแบบในแม่พิมพ์แต่ละแบบๆ นั่นเอง เมื่อจะประดับลวดลาย ติดกับงานปั้นนั้นต้องใช้ “เทือก” ซึ่งมีส่วนประกอบด้วย วัสดุอย่างเดียวกับรักสมุก ที่ได้ทำขึ้นสำหรับปั้น แต่เคี่ยวให้เหนียวขึ้นไม่ถึงกับจับตัวแน่น มาทาลงตรงตำแหน่งที่ต้องการติดลวดลาย แล้วนำเอา ลายที่ตีพิมพ์มาติดลงที่นั้น เมื่อติดลายประดับตกแต่งสำเร็จแล้ว ผึ่งให้แห้ง ลวดลายก็จะติดแน่นทนอยู่ได้นานๆ

    การตกแต่งงานปั้นรักสมุก

    งาน ปั้นด้วยรักสมุก เมื่อสำเร็จเป็นรูปต่างๆ มักเป็นงานปั้นสีดำๆ ไม่สู้งามต้องตาคนทั่วไป ช่างปั้นจึงตกแต่งงานปั้น ด้วยการลงรักปิดทองคำเปลวบ้าง ด้วยการลงสีฝุ่นเขียนระบาย เพื่อให้มีสีสันแก่ชิ้นงานปั้นนั้นบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับความเหมาะสมของงานปั้นด้วยรักสมุกแต่ละชนิด
    งานปั้นด้วยรักสมุก อย่างโบราณวิธีตามแบบแผนของช่างปั้นรักสมุก มีงานปั้นอยู่หลายชนิดด้วยกัน ที่ควรกล่าวถึงพอเป็นตัวอย่าง คือ
    1. งานปั้นหน้าโขน เครื่องประดับส่วนต่างๆ บนศีรษะโขน
    2. งานปั้นประดับตกแต่งเครื่องสวมศีรษะ หรือเครื่องศิราภรณ์ คือ ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า เกี้ยวลอมพอก
    3. งานปั้นพระพักต์พระพุทธรูป หน้าหุ่นกระบอก หน้าหุ่นใหญ่
    4. งานปั้นตีพิมพ์ลวดลายประดับตกแต่งครุภัณฑ์ต่างๆ เช่น แท่น ฐานแบบต่างๆ ตู้ ม้าหมู่




วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานช่างไฟฟ้า




สายงาน ช่างไฟฟ้า

ลักษณะงานโดยทั่วไป
สาย งานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางด้านช่างไฟฟ้า ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้าง ตรวจแก้ ซ่อม ปรับ ประกอบ ดัดแปลง ทดสอบ ติดตั้ง และบำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าคำนวณรายการและ ควบคุมตรวจสอบความเรียบร้อยในงานไฟฟ้า และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อและระดับของตำแหน่ง

ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ

ช่างไฟฟ้า 1 ระดับ 1
ช่างไฟฟ้า 2 ระดับ 2
ช่างไฟฟ้า 3 ระดับ 3
ช่างไฟฟ้า 4 ระดับ 4
ช่างไฟฟ้า 5 ระดับ 5
ช่างไฟฟ้า 6 ระดับ 6
ช่างไฟฟ้า 7 ระดับ 7
ช่างไฟฟ้า 8 ระดับ 8



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 1

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ไม่ยากภายใต้การกำกับ ตรวจสอบโดยใกล้ชิด หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างชัดเจนหรือละเอียดถี่ถ้วน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ไม่ยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ช่วยในการติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ บำรุงรักษา ซ่อมเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานในหน่วยงาน เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. มีความรู้ความสามารถในงานช่างไฟฟ้าอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดม ศึกษา กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาและคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
4. มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละเอียดรอบคอบและถูกต้อง





ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 2

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ค่อนข้างยากภายใต้การกำกับตรวจสอบโดยทั่วไป หรือตามคำสั่ง หรือแบบ
หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่บ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ
เช่น ช่วยในการติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลและประวัติการซ่อมและข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 1 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. ได้รับอนุปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอก จากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 1 แล้ว จะต้องมีความสามารถในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่ อยู่ในความรับผิดชอบ



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 3

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ยากพอสมควรภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างกว้างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากพอสมควร โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมรวมข้อมูลและประวัติการซ่อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงาน เป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 2
หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 2 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
2. มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล




ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 4

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ยากภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น หรือตามคำสั่ง หรือแบบ
หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างกว้างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับซ่อม บำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษา เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลและประวัติการซ่อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงานเป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 2 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 3 แล้วจะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 5

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ค่อนข้างยากมากภายใต้การกำกับตรวจสอบน้อยมาก หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือในบางกรณี ซึ่งต้องมีการใช้ความคิดริเริ่มบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ค่อนข้างยากมาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ตรวจ ทดสอบ สร้าง ซ่อม ประกอบ ดัดแปลง ติดตั้ง และบำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าที่ต้องใช้ความละเอียดแม่นยำ เทคนิคและความชำนาญสูงมาก คำนวณรายการ และประมาณราคาในการดำเนินงาน ควบคุมตรวจสอบการใช้ การเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน เป็นต้น เผยแพร่งานทางด้านช่างไฟฟ้า ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่น
ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4
หรือ เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 4 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ





ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 6

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ยากมากภายใต้การกำกับตรวจสอบน้อยมาก ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์และความคิดริเริ่มในงานที่มีแนวปฏิบัติน้อยมาก ต้องพิจารณาแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติ งานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าที่ยากมาก ต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์กับงานที่ปฏิบัติเพื่อกำหนดและปรับ เปลี่ยนแผนงานให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยไม่ต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ แนะนำ ตลอดจนตัดสินใจแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบโดยอิสระ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย


ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากมากซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์สูง โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น สร้าง ตรวจแก้ ปรับ ประกอบดัดแปลง ทดสอบ ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าซึ่งมีระบบการทำงานที่ยุ่งยากมาก ตรวจ ทดสอบ ศึกษารายละเอียดอุปกรณ์ใหม่ ๆ พัฒนาเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น เป็นต้น ศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการต่าง ๆ ในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงานช่างไฟฟ้าโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เผยแพร่และให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ช่วยสอนและฝึกงานภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษา ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ
งานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.กรณีตำแหน่งที่มีประสบการณ์
1.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 2 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
1.2 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 2 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี


2.กรณีตำแหน่งระดับชำนาญการ
2.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งใน
ระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าหรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2.2 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอก จากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 5 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน




ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 7

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าที่ยากเป็นพิเศษ ต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์กับงานที่ปฏิบัติ เพื่อกำหนดและปรับเปลี่ยนแผนงานให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยไม่ต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ แนะนำ ตลอดจนตัดสินใจแก้ไขปัญหาใน
งานที่รับผิดชอบโดยอิสระ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากเป็นพิเศษซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากโดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยว กับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ ศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อพัฒนาแนวทางวิธีการในงานช่างไฟฟ้าซึ่งต้องใช้เทคนิคและความชำนาญ ช่วยสอนและฝึกงานภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาและผู้เข้ารับการฝึกอบรมทางด้าน ช่างๆไฟฟ้า ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการต่างๆในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ปรับปรุงคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ศึกษา วิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงานโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เผยแพร่และให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 6
หรือ เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอก จากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 6 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายการบริหารงาน ของรัฐบาล ปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 8

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าที่ยากมากเป็นพิเศษ
โดย ต้องคิดริเริ่ม ยกเลิก หรือกำหนดขั้นตอนการทำงาน ตลอดจนต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการกำกับ ตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตามที่กำหนดในช่วงเวลาที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติงานโดยอิสระ และต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดทำและปรับเปลี่ยนแผนงาน โครงการต่าง ๆ หรือแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบเป็นประจำ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากมากเป็นพิเศษซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษโดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่าง หนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ ศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อสร้างแนวทางวิธีการใหม่ในงานช่างไฟฟ้าซึ่งต้องใช้เทคนิคและความ ชำนาญสูง ช่วยสอนและฝึกงานภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาและผู้เข้ารับการฝึกอบรมทางด้าน ช่างไฟฟ้า ศึกษา ค้นคว้า หาวิธีการต่างๆ ในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้คำแนะนำในการปรับปรุงคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ศึกษา วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงานโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เผยแพร่และให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ฝึกอบรม ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 ดำรงตำแหน่งช่างไฟฟ้า 7 ตำแหน่งผู้ชำนาญการ ระดับ 7 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 7 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 ดำรงตำแหน่งช่างไฟฟ้า 7 ตำแหน่งผู้ชำนาญการ ระดับ 7 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 7 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีประสบการณ์สูง

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานไม้

งานช่างไม้



งานช่างไม้

ความหมายของงานช่างไม้

             งานไม้เป็นงานช่างที่ใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์  ต้องมีความอดทน  ขยัน         มีความรับผิดชอบสูง  สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นไม้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้อย่างเหมาะสม  ทั้งที่จะต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและกระบวนการในการใช้  จึงจะสามารถทำงาน  ไม้ได้อย่างสวยงาม  เรียบร้อย  มีประสิทธิภาพในการใช้เครื่องมือและใช้วัสดุ  ปัจจุบันไม้มีคุณค่ามาก  หายาก  เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปเกือบหมด  จนต้องใช้วัสดุอื่น ๆ มาทดแทนไม้  เช่น  พลาสติก  โลหะ  งานช่างไม้ในงานช่างพื้นฐานเป็นงานช่างไม้เบื้องต้น  สามารถปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง  เช่น  การรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้  วิธีการใช้วัสดุ  และการเก็บรักษา  การซ่อมบำรุงสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน  เช่น  เฟอร์นิเจอร์  ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน  เป็นต้น





คลิปวีดีโอ
การทำงานช่างไม้






http://www.youtube.com/watch?v=nTjAa-g3ZuY&feature=player_embedded


การใช้งานอุปกรณ์งานช่างไม้

วัสดุในงานไม้

 

            เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าการเริ่มทำงานไม้ในโรงงานอย่างไรจึงจะดี ดังนั้นหากได้เรียนรู้เกี่ยวกับไม้ที่ใช้  จะช่วยให้ได้งานออกมาสวยงาม มีคุณภาพ การซื้อไม้ดีๆ จากโรงงาจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย วัสดุที่ได้ก็ไม่ด้อยคุณภาพ ในบทนี้จะขอกล่าวถึงวัสดุของงานไม้ที่นิยมใช้กัน


 

คลิปการ
ใช้อุปกรณ์งานช่างไม้





http://www.youtube.com/watch?v=4IEkCfAq0k0&feature=related


การดูแลรักษาเครื่องมืองานช่างไม้


เครื่องมือช่างพื้นฐาน
                เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างมีอยู่มากมายหลายชนิด  แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งาน  ที่แตกต่างกันตามลักษณะงานของแต่ละประเภท  เช่น  งานไม้  งานโลหะ  งานไฟฟ้า  งานปูน           และงานประปา  เป็นต้น  เครื่องมือบางชนิดอาจใช้ประโยชน์ได้หลายงาน  เช่น  ค้อน  เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งงานไม้และงานปูน  เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้  4  ประเภท  ดังนี้
               
 เครื่องมือประเภทวัด
บรรทัดเหล็ก

                                ลักษณะการใช้งาน  ใช้วัดระยะ
                            การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

ฉากเหล็ก

                                ลักษณะการใช้งาน  ใช้สำหรับวัดระยะทางและมุม
                 การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

ตลับเมตร


                                ลักษณะการใช้งาน  ใช้วัดระยะ
                                การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

                                เครื่องมือประเภทตัด
                  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดไม้หรือโลหะหรือวัสดุอื่น ๆ  เครื่องมือตัดที่ใช้ในงานช่างมีหลายชนิดแล้วแต่การใช้งาน  มีตัดต่อไปนี้
                  เลื่อย  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัด  ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นบาง ๆ มีฟันเป็นซี่  ซึ่งเลื่อยที่นิยมใช้กันทั่วไป  คือ
   เลื่อยลันดา

                เลื่อยลันดา  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ  เลื่อยตัดและเลื่อยโกรก  เลื่อยใช้ตัดไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้  มีฟันถี่จำนวนฟัน  8-12  ซี่ต่อความยาว  1  นิ้ว  เลื่อยโกรกจะมีฟันห่างจำนวน  5-8  ซี่ต่อความยาว  1  นิ้ว  ใช้สำหรับผ่าไม้ตามความยาวของเสี้ยนไม้    
   
เลื่อยหางหนู

                        เลื่อยหางหนูลักษณะใบเลื่อยเรียวยาวไปตลอดแนว   ใช้ในงานฉลุ  แต่งวัตถุรูปทรงกลม  หรือส่วนโค้ง  ที่มีความยาวไม่มากนัก

         เลื่อยตัดเหล็ก  (เลื่อยมือ)

                        เลื่อยตัดเหล็กหรือเลื่อยมือ  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานโลหะเป็นส่วนใหญ่  ส่วนประกอบคือตัวเลื่อย  และใบเลื่อย  ตัวเลื่อยเป็นโครงเหล็กมีด้ามหรือมือจับ  ส่วนใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า  มีความเหนียวมาก  ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดละเอียดและหยาบ
                        การใช้และการเก็บบำรุงรักษาเลื่อย 
                            1.  ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมอยู่เสมอ  หลังจากทำความสะอาดซี่เลื่อย ออกหมดเรียบร้อยแล้ว
                            2.  ถอดใบเลื่อยมือออกจากตัวเลื่อยเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
                            3.  ทาด้วยน้ำมันเครื่อง  เพื่อรักษาใบเลื่อยไม่ให้เป็นสนิม
                            4.  เก็บใส่กล่องเพื่อป้องกันความชื้น  และเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
                เครื่องมือประเภทตอก
                เครื่องมือประเภทตอก  ได้แก่  ค้อน  นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีไว้ประจำบ้าน  เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้สะดวก  เป็นพื้นฐานของงานช่างประจำบ้าน  ค้อนมีหลายชนิด  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งานดังนี้
ค้อนหงอน

                        ค้อนหงอน  เป็นค้อนที่นิยมใช้ตามบ้านทั่วไป  มีส่วนประกอบ  2  ส่วน  คือ  ส่วนหัวค้อนและด้ามค้อน  ส่วนมากใช้กับงานช่างไม้  ในการจับยึดแน่นด้วยตะปู  จึงมีทั้งการตอกและถอนตะปูอยู่เสมอ  ค้อนหงอนจึงทำหน้าที่ทั้งตอกและถอนตะปู  การจับค้อนที่ถูกวิธีควรจับตรงปลายของด้ามค้อน  และเหวี่ยงน้ำหนักให้พอเหมาะ  ตะปูจะได้ไม่คดงอ
ค้อนหัวกลม

                        ค้อนหัวกลม  เป็นค้อนที่ใช้กับงานโลหะ  ใช้ในงานตอก  หรือทุบโลหะ  พับโลหะ  หรือเคาะโลหะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ
ค้อนหัวเหลี่ยม
img156.gif

ค้อนหัวเหลี่ยมหรือค้อนเล็ก   มีรูปร่างเล็ก  น้ำหนักเบา  ใช้ในงานตอกเข็มขัดรัดสายไฟ  และงานไฟฟ้าทั่วไป  ซึ่งเรียกกันติดปากว่า  ค้อนตอกสายไฟหรือค้อนเดินสายไฟ  รูปร่างลักษณะของหัวค้อนด้านหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ด้านหลังจะเรียวแบนโค้งเล็กน้อยตามความเหมาะสม  เพื่อสะดวกในการใช้งานบริเวณที่เข้ามุมหรือพื้นที่แคบ ๆ
                        การใช้และการเก็บบำรุงรักษาค้อน  แบ่งออกได้ดังนี้
                            1.  ก่อนการใช้งาน  ก่อนใช้ควรตรวจความเรียบร้อยของตัวด้ามและหัวค้อนให้แน่นและแข็งแรง
                            2.  ถอนตะปูด้วยความระมัดระวัง  ถ้าตะปูตัวโตหรือแน่นมาก  การถอนควรใช้ไม้รองหัวค้อนเพื่อผ่อนแรง  แล้วค่อย ๆ งัดโดยออกแรงเพิ่มทีละน้อย  ถ้างัดแรง ๆ ด้ามค้อนอาจจะหักชำรุดได้
                            3.  หลังจากการใช้งาน  เมื่อเลิกใช้งานควรทำความสะอาด  และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

                                เครื่องมือประเภทเจาะ

สว่านเฟือง


                สว่านเฟือง  เป็นสว่านที่ใช้เจาะรูกับงานไม้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า  สามารถเปลี่ยนดอกสว่านได้ตามความต้องการ  เพื่อเจาะรูบนเนื้อไม้ในรูปแบบต่าง ๆ  โดยใช้แรงกดของมือข้างหนึ่ง  และหมุนอีกข้างหนึ่ง  ในการเจาะรูสามารถเจาะไม้ที่มีความหนามาก ๆ ได้  และควรทำงานด้วยความระมัดระวัง  ไม่ควรกดแรงเกินไปเพราะจะทำให้ดอกสว่านหักได้

สว่านแท่น

                        สว่านแท่นหรือสว่านตั้งพื้น    เป็นสว่านขนาดใหญ่มีแท่นสำหรับจับยึดชิ้นงานหรือใช้สำหรับวางปากกาจับชิ้นงานการติดตั้งจะติดตั้งอยู่กับที่  จึงเหมาะสำหรับการเจาะชิ้นงานที่สามารถนำมาวางบนแท่นจับยึดบนแท่นจับงาน  หรือปากกาจับชิ้นงาน

                        การใช้และการบำรุงรักษา
  1. ก่อนใช้ควรตรวจดูสภาพของเครื่องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  2. เลือกดอกสว่านให้เหมาะกับชิ้นงาน
  3. เมื่อใช้ประแจขันหัวจับดอกสว่านแล้วควรดึงออกทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตราย
  4. อย่าจับหัวดอกสว่านให้หยุดด้วยมือ
  5. ควรใช้อุปกรณ์ในการจับยึดให้แน่น
  6. ควรใช้แปรงปัดเศษโลหะที่เจาะ
  7. ก่อนใช้เครื่องควรหยอดน้ำมัน
  8. ไม่ควรตีหรือเคาะงานแรง ๆ บนแท่นเจาะ
  9. อย่าใช้แกนเจาะสว่านเป็นที่อัดหรือเจาะ
  10. หลังใช้งาน ปัด เช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง


สว่านไฟฟ้า


                            สว่านมือไฟฟ้า     เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเจาะรูมีไฟฟ้าเป็นตัวต้นกำลัง  และมี
การปรับความเร็วรอบของสว่าน  แต่จะมีขนาดของรูเจาะที่ไม่ใหญ่มาก   
               
                วิธีใช้และการบำรุงรักษา 
                            1.  เลือกสว่านให้เหมาะสมกับงาน
                            2.  ใส่ดอกสว่านให้ตรงแน่นก่อนใช้งาน
                            3.  ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน  จับชิ้นงานไว้ให้แน่น
                            4.  ถ้าต้องการเจาะรูโร  ควรใช้ดอกสว่านเล็กนำก่อน
                            5.   ขณะเจาะควรคลายให้เศษวัสดุออกบ้าง  เพื่อลดแรงกด  ทั้งป้องกันมิให้ดอกสว่านร้อนหรือหัก
                            6.   หากชิ้นงานที่เจาะเป็นไม้  ก่อนทะลุควรกลับไม้เจาะด้านตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้แตก
                            7.   การเจาะด้วยสว่านไฟฟ้าไม่ควรล็อกปุ่มกดสวิตช์  และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
                            8.   เมื่อเลิกใช้งานให้ถอดดอกสว่านออกจากตัวสว่าน  ทำความสะอาด  เก็บเข้าที่   ให้เรียบร้อย

                            เครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้ในงานช่าง
                            ไขควง  Screw  driver  ไขควงใช้สำหรับขันตะปูเกลียวเพื่อจับยึด  ไขควง 
มี  2  ชนิด  ตามลักษณะการใช้งาน
                                   1.  ไขควงปากแบน

                                   ลักษณะการใช้งาน
                                   ไขควงปากแบน  ใช้สำหรับถอดตะปูเกลียวหัวผ่าเท่านั้น  อย่าใช้งัดฝากระป๋องหรือตอกสิ่งใด ๆ  ควรซื้อเฉพาะไขควงที่ทำด้วยเหล็กคุณภาพดี
                                   ไขควงปากแบนมีทั้งปากใหญ่และปากเล็ก  ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของตะปูเกลียว  ถ้าใช้ปากเล็กเกินไป  หรือปากบางเกินไป  อาจทำให้ไขพลาด  ร่องตะปูเยิน
                                   ปากไขควงจะต้องฝนให้ส่วนแบนทั้งสองด้านขนานกัน  เพราะมิฉะนั้นปากจะไม่จับกับร่องหัวตะปู  ทำให้ไขพลาด  ลื่น
                                   อย่างใช้ไขควงปากแบนไปไขตะปูหัวแฉก  เพราะจะทำให้ร่องตะปูเยินชำรุด
                            การดูแลรักษา  เช็ดทำความสะอาดหลังใช้งาน  เก็บในที่ปลอดภัย
                                   2. ไขควงปากแฉก

                                   ลักษณะการใช้งาน
                                   ไขควงปากแฉก  ใช้สำหรับถอดและขันตะปูเกลียวปากแฉก  ซึ่งมีที่ใช้มากในการยึดอุปกรณ์ภายในของรถยนต์  เพราะไม่ลื่นไถลง่ายเหมือนตะปูหัวผ่าธรรมดา 
                     
                                  วิธีใช้และการบำรุงรักษา 
                                  1.  ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัดหรือค้อน
                                  2.  ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมัน  เพราะอาจเกิดพลาดพลั้งกระแทกมือได้
                                  3.  ควรเลือกใช้ไขควงที่มีปากลักษณะเดียวกับชนิดของหัวสกรู
                                  4.  การใช้ไขควง  ควรจับที่ด้ามของไขควง  ไม่ควรใช้คีมจับด้ามไขควงขันสกรู
                                  5.  ใช้ไขควงที่มีด้ามเป็นฉนวนในงานช่างไฟฟ้า
                                  6.  ถ้าไขควงชำรุดต้องซ่อมทันที
                                  7.   หลีกเลี่ยงการใช้ไขควงถอดหรือคลายสกรูเก่าที่ชำรุด
                                  8.  เมื่อเลิกใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
                     
                คีม  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับ  ตัด  ดัด  งอโค้ง  ด้ามมีฉนวนหุ้มจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน มีความปลอดภัยในการทำงาน
คีมปากจระเข้

  

คีมปากจิ้งจก


คีมปอกและตัดสาย


คีมย้ำหัวต่อสาย
                     
                             วิธีใช้และการบำรุงรักษา 
                            1.  ใช้คีมให้เหมาะกับงาน
                            2.  ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว  เพราะจะทำให้ปากคีมเยิน
                            3.  ไม่ควรใช้คีมต่างค้อน
                            4.  ก่อนใช้ควรตรวจฉนวนหุ้มให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
                            5.   เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาด  เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 http://www.tkschool.ac.th/~chusak/page4.html


ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมืองานช่างไม้

ความปลอดภัย นับว่าเป็น ความสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงาน เมื่อใดที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัท จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก ความปลอดภัยถูกตั้งขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ ผ่านหน่วยงานการป้องกันความปลอดภัยและสุขภาพตามพระราชบัญญัติ มีการวางระเบียบการป้องกันของลูกจ้างในรูปแบบของการททำงานการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาปฏิบัติ ปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ในโรงเรียนด้วย นอกจากนี้ยังได้กำหนดกฎเกณฑ์ในเรื่องของงการรักษามลภาวะทางเสียงและอากาศ เพิ่มเข้าไปในมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
ในการทำงานไม้ จะต้องเตรียมความพร้อมเสมอในเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเครื่องจักรกลต่างๆ และพื้นที่ทำงาน เพราะบางครั้งการทำบางสิ่งโดยไม่ไตร่ตรองอาจเกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่รู้ตัว การทำงานที่ประมาทจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หรือให้เกิดความผิดพลาดต่องานได้ ก่อนที่จะเริ่มทำงานจึงควรปฏิบัติดังนี้

  • เรียนรู้เรื่องกฎความปลอดภัย
  • ทำงานตามขั้นและเวลา
  • รู้ว่าส่วนไหนและวิธีการป้องกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ความปลอดภัยในการทำงาน

  • ทำงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
  • ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในการททำงาที่ถูกต้องและปลอดภัย
  • อย่าลืมคำว่า “ความถูกต้อง ต้องมาเป็นอันดับแรก”
  • คำขวัญที่ดีกล่าวได้ว่า “สิ่งที่ดีที่สุดคือ ความปลอดภัย”
  • หลีกเลี่ยงการเล่นอย่างคึกคะนอง และให้ความสนใจป้ายเตือนต่างๆ ในสถานที่ทำงาน
  • เสื้อผ้าที่หลวมจะโดนเครื่องจักรดึงหรือ กระชากได้ เสื้อที่มีแขวนยาวควนติดกระดุมข้อมือให้แน่น หรือพับให้ถึงข้อศอก เสื้อผ้าที่ควรใช้ทำงานไม่ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อฝึกงาน
  • ควรถอดแหวน นาฬิกา และเครื่องประดับอื่นๆ ก่อนที่จะทำงานกับเครื่องมือ และเครื่องจักร
  • ควรสวมแว่นป้องกันแสงหรือป้องกันสายตา ประกอบด้วยเครื่องบังเพื่อป้องกันดวงตาจากเศษไม้ ตะปู ขี้เลื่อย และรอยเปื้อนต่างๆ
  • ควรสวมเสื้อป้องกันหูเมื่อทำงานรอบๆ เครื่องจักรในระยะเวลานานๆ
  • ควรเก็บหรือรวบรวมผมที่ยาวให้ห่างจากเครื่องจักรที่กำลังทำงาน การผูกผมไว้ด้านหลังหรือใช้ผ้าคลุมผม จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ส่วนหนึ่ง
  • เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และเข้าใจกฎความปลอดภัยของเครื่องมือและเครื่องจักรที่ซื้อมา ตลอดจนเรียนรู้คำเตือนจากป้ายสัญญาณ เช่น ป้ายหยุด
  • เครื่องตัดไม้ที่คมจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายและดี ส่วนใบมีดที่ไม่คมจะทำให้ลื่นและอาจพลาดไปถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
  • ไม่ควรทดสอบความคมของเครื่องมือด้วยอวัยวะของร่างกาย แต่ควรใช้ไม้หรือกระดานแทน
  • นิ้วมือควรจะให้ห่างจากคมมีดของเครื่องมือ และใช้ไม้หรือวัสดุอื่นตัด
  • ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้นิ้วหรือมือในการสตาร์ตเครื่องจักร
  • ต้องมั่นใจว่าเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในสภาพดี ควรตรวจสอบความเรียบร้อยว่าไม่แตกหักหรือหลวม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
  • ต้องไม่ใช้เครื่องมือผิดวิธี เช่น ไม่ควรใช้สิ่วเปิดกล่องไม้หรือกระป๋อง ต้องใช้เครื่องมือให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง
การเก็บรักษาเครื่องมือ
  • ดูแลรักษาความสะอาดบนโต๊ะฝึกงานและพื้นที่รอบๆ
  • เก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
  • ตรวจสอบเครื่องมือด้วยน้ำมันหรือจาระบี เพื่อรักษาเครื่องมือที่เป็นโลหะ
  • ควรเก็บเศษวัสดุดิบใส่ในกล่องหรือถังเก็บ
  • ทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน เพราะความสะอาดในโรงงานเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง
การรายงานอุบัติเหตุ
การรายงานอุบัติเหตุต่างๆ ไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงเล็กน้อย และสิ่งที่ช่วยกันอันดับแรก คือ เมื่อมีแผลที่เกิดจากการตัดหรือขีดข่วน ซึ่งจะทำให้เชื้อ โรคเข้าไปในบาดแผลได้ หรือบางสิ่งบางอย่างเข้าตาแม้เพียงเล็กน้อย ต้องไปให้แพทย์ตรวจทันที


http://www.thaiwoodcentral.com/blog


กลุ่มของผมก็ขอรายงานเพียงเท่านี้ขอบคุณคับ