วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานช่างไฟฟ้า




สายงาน ช่างไฟฟ้า

ลักษณะงานโดยทั่วไป
สาย งานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางด้านช่างไฟฟ้า ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้าง ตรวจแก้ ซ่อม ปรับ ประกอบ ดัดแปลง ทดสอบ ติดตั้ง และบำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าคำนวณรายการและ ควบคุมตรวจสอบความเรียบร้อยในงานไฟฟ้า และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อและระดับของตำแหน่ง

ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ

ช่างไฟฟ้า 1 ระดับ 1
ช่างไฟฟ้า 2 ระดับ 2
ช่างไฟฟ้า 3 ระดับ 3
ช่างไฟฟ้า 4 ระดับ 4
ช่างไฟฟ้า 5 ระดับ 5
ช่างไฟฟ้า 6 ระดับ 6
ช่างไฟฟ้า 7 ระดับ 7
ช่างไฟฟ้า 8 ระดับ 8



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 1

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ไม่ยากภายใต้การกำกับ ตรวจสอบโดยใกล้ชิด หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างชัดเจนหรือละเอียดถี่ถ้วน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ไม่ยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ช่วยในการติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ บำรุงรักษา ซ่อมเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานในหน่วยงาน เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. มีความรู้ความสามารถในงานช่างไฟฟ้าอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดม ศึกษา กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาและคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
4. มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละเอียดรอบคอบและถูกต้อง





ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 2

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ค่อนข้างยากภายใต้การกำกับตรวจสอบโดยทั่วไป หรือตามคำสั่ง หรือแบบ
หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่บ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ
เช่น ช่วยในการติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลและประวัติการซ่อมและข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 1 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. ได้รับอนุปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอก จากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 1 แล้ว จะต้องมีความสามารถในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่ อยู่ในความรับผิดชอบ



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 3

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ยากพอสมควรภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างกว้างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากพอสมควร โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมรวมข้อมูลและประวัติการซ่อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงาน เป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 2
หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 2 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
2. มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล




ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 4

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ยากภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น หรือตามคำสั่ง หรือแบบ
หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างกว้างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับซ่อม บำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษา เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลและประวัติการซ่อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงานเป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 2 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 3 แล้วจะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 5

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ค่อนข้างยากมากภายใต้การกำกับตรวจสอบน้อยมาก หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือในบางกรณี ซึ่งต้องมีการใช้ความคิดริเริ่มบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ค่อนข้างยากมาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ตรวจ ทดสอบ สร้าง ซ่อม ประกอบ ดัดแปลง ติดตั้ง และบำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าที่ต้องใช้ความละเอียดแม่นยำ เทคนิคและความชำนาญสูงมาก คำนวณรายการ และประมาณราคาในการดำเนินงาน ควบคุมตรวจสอบการใช้ การเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน เป็นต้น เผยแพร่งานทางด้านช่างไฟฟ้า ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่น
ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4
หรือ เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 4 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ





ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 6

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ยากมากภายใต้การกำกับตรวจสอบน้อยมาก ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์และความคิดริเริ่มในงานที่มีแนวปฏิบัติน้อยมาก ต้องพิจารณาแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติ งานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าที่ยากมาก ต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์กับงานที่ปฏิบัติเพื่อกำหนดและปรับ เปลี่ยนแผนงานให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยไม่ต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ แนะนำ ตลอดจนตัดสินใจแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบโดยอิสระ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย


ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากมากซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์สูง โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น สร้าง ตรวจแก้ ปรับ ประกอบดัดแปลง ทดสอบ ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าซึ่งมีระบบการทำงานที่ยุ่งยากมาก ตรวจ ทดสอบ ศึกษารายละเอียดอุปกรณ์ใหม่ ๆ พัฒนาเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น เป็นต้น ศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการต่าง ๆ ในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงานช่างไฟฟ้าโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เผยแพร่และให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ช่วยสอนและฝึกงานภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษา ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ
งานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.กรณีตำแหน่งที่มีประสบการณ์
1.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 2 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
1.2 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 2 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี


2.กรณีตำแหน่งระดับชำนาญการ
2.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งใน
ระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าหรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2.2 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอก จากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 5 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน




ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 7

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าที่ยากเป็นพิเศษ ต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์กับงานที่ปฏิบัติ เพื่อกำหนดและปรับเปลี่ยนแผนงานให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยไม่ต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ แนะนำ ตลอดจนตัดสินใจแก้ไขปัญหาใน
งานที่รับผิดชอบโดยอิสระ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากเป็นพิเศษซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากโดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยว กับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ ศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อพัฒนาแนวทางวิธีการในงานช่างไฟฟ้าซึ่งต้องใช้เทคนิคและความชำนาญ ช่วยสอนและฝึกงานภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาและผู้เข้ารับการฝึกอบรมทางด้าน ช่างๆไฟฟ้า ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการต่างๆในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ปรับปรุงคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ศึกษา วิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงานโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เผยแพร่และให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 6
หรือ เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอก จากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 6 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายการบริหารงาน ของรัฐบาล ปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 8

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าที่ยากมากเป็นพิเศษ
โดย ต้องคิดริเริ่ม ยกเลิก หรือกำหนดขั้นตอนการทำงาน ตลอดจนต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการกำกับ ตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตามที่กำหนดในช่วงเวลาที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติงานโดยอิสระ และต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดทำและปรับเปลี่ยนแผนงาน โครงการต่าง ๆ หรือแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบเป็นประจำ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากมากเป็นพิเศษซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษโดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่าง หนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ ศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อสร้างแนวทางวิธีการใหม่ในงานช่างไฟฟ้าซึ่งต้องใช้เทคนิคและความ ชำนาญสูง ช่วยสอนและฝึกงานภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาและผู้เข้ารับการฝึกอบรมทางด้าน ช่างไฟฟ้า ศึกษา ค้นคว้า หาวิธีการต่างๆ ในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้คำแนะนำในการปรับปรุงคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ศึกษา วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงานโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เผยแพร่และให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ฝึกอบรม ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 ดำรงตำแหน่งช่างไฟฟ้า 7 ตำแหน่งผู้ชำนาญการ ระดับ 7 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 7 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 ดำรงตำแหน่งช่างไฟฟ้า 7 ตำแหน่งผู้ชำนาญการ ระดับ 7 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 7 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีประสบการณ์สูง

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานไม้

งานช่างไม้



งานช่างไม้

ความหมายของงานช่างไม้

             งานไม้เป็นงานช่างที่ใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์  ต้องมีความอดทน  ขยัน         มีความรับผิดชอบสูง  สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นไม้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้อย่างเหมาะสม  ทั้งที่จะต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและกระบวนการในการใช้  จึงจะสามารถทำงาน  ไม้ได้อย่างสวยงาม  เรียบร้อย  มีประสิทธิภาพในการใช้เครื่องมือและใช้วัสดุ  ปัจจุบันไม้มีคุณค่ามาก  หายาก  เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปเกือบหมด  จนต้องใช้วัสดุอื่น ๆ มาทดแทนไม้  เช่น  พลาสติก  โลหะ  งานช่างไม้ในงานช่างพื้นฐานเป็นงานช่างไม้เบื้องต้น  สามารถปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง  เช่น  การรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้  วิธีการใช้วัสดุ  และการเก็บรักษา  การซ่อมบำรุงสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน  เช่น  เฟอร์นิเจอร์  ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน  เป็นต้น





คลิปวีดีโอ
การทำงานช่างไม้






http://www.youtube.com/watch?v=nTjAa-g3ZuY&feature=player_embedded


การใช้งานอุปกรณ์งานช่างไม้

วัสดุในงานไม้

 

            เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าการเริ่มทำงานไม้ในโรงงานอย่างไรจึงจะดี ดังนั้นหากได้เรียนรู้เกี่ยวกับไม้ที่ใช้  จะช่วยให้ได้งานออกมาสวยงาม มีคุณภาพ การซื้อไม้ดีๆ จากโรงงาจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย วัสดุที่ได้ก็ไม่ด้อยคุณภาพ ในบทนี้จะขอกล่าวถึงวัสดุของงานไม้ที่นิยมใช้กัน


 

คลิปการ
ใช้อุปกรณ์งานช่างไม้





http://www.youtube.com/watch?v=4IEkCfAq0k0&feature=related


การดูแลรักษาเครื่องมืองานช่างไม้


เครื่องมือช่างพื้นฐาน
                เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างมีอยู่มากมายหลายชนิด  แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งาน  ที่แตกต่างกันตามลักษณะงานของแต่ละประเภท  เช่น  งานไม้  งานโลหะ  งานไฟฟ้า  งานปูน           และงานประปา  เป็นต้น  เครื่องมือบางชนิดอาจใช้ประโยชน์ได้หลายงาน  เช่น  ค้อน  เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งงานไม้และงานปูน  เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้  4  ประเภท  ดังนี้
               
 เครื่องมือประเภทวัด
บรรทัดเหล็ก

                                ลักษณะการใช้งาน  ใช้วัดระยะ
                            การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

ฉากเหล็ก

                                ลักษณะการใช้งาน  ใช้สำหรับวัดระยะทางและมุม
                 การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

ตลับเมตร


                                ลักษณะการใช้งาน  ใช้วัดระยะ
                                การดูแลรักษา  ระวังอย่าให้ตกหล่น  เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน

                                เครื่องมือประเภทตัด
                  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดไม้หรือโลหะหรือวัสดุอื่น ๆ  เครื่องมือตัดที่ใช้ในงานช่างมีหลายชนิดแล้วแต่การใช้งาน  มีตัดต่อไปนี้
                  เลื่อย  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัด  ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นบาง ๆ มีฟันเป็นซี่  ซึ่งเลื่อยที่นิยมใช้กันทั่วไป  คือ
   เลื่อยลันดา

                เลื่อยลันดา  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ  เลื่อยตัดและเลื่อยโกรก  เลื่อยใช้ตัดไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้  มีฟันถี่จำนวนฟัน  8-12  ซี่ต่อความยาว  1  นิ้ว  เลื่อยโกรกจะมีฟันห่างจำนวน  5-8  ซี่ต่อความยาว  1  นิ้ว  ใช้สำหรับผ่าไม้ตามความยาวของเสี้ยนไม้    
   
เลื่อยหางหนู

                        เลื่อยหางหนูลักษณะใบเลื่อยเรียวยาวไปตลอดแนว   ใช้ในงานฉลุ  แต่งวัตถุรูปทรงกลม  หรือส่วนโค้ง  ที่มีความยาวไม่มากนัก

         เลื่อยตัดเหล็ก  (เลื่อยมือ)

                        เลื่อยตัดเหล็กหรือเลื่อยมือ  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานโลหะเป็นส่วนใหญ่  ส่วนประกอบคือตัวเลื่อย  และใบเลื่อย  ตัวเลื่อยเป็นโครงเหล็กมีด้ามหรือมือจับ  ส่วนใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า  มีความเหนียวมาก  ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดละเอียดและหยาบ
                        การใช้และการเก็บบำรุงรักษาเลื่อย 
                            1.  ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมอยู่เสมอ  หลังจากทำความสะอาดซี่เลื่อย ออกหมดเรียบร้อยแล้ว
                            2.  ถอดใบเลื่อยมือออกจากตัวเลื่อยเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
                            3.  ทาด้วยน้ำมันเครื่อง  เพื่อรักษาใบเลื่อยไม่ให้เป็นสนิม
                            4.  เก็บใส่กล่องเพื่อป้องกันความชื้น  และเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
                เครื่องมือประเภทตอก
                เครื่องมือประเภทตอก  ได้แก่  ค้อน  นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีไว้ประจำบ้าน  เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้สะดวก  เป็นพื้นฐานของงานช่างประจำบ้าน  ค้อนมีหลายชนิด  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งานดังนี้
ค้อนหงอน

                        ค้อนหงอน  เป็นค้อนที่นิยมใช้ตามบ้านทั่วไป  มีส่วนประกอบ  2  ส่วน  คือ  ส่วนหัวค้อนและด้ามค้อน  ส่วนมากใช้กับงานช่างไม้  ในการจับยึดแน่นด้วยตะปู  จึงมีทั้งการตอกและถอนตะปูอยู่เสมอ  ค้อนหงอนจึงทำหน้าที่ทั้งตอกและถอนตะปู  การจับค้อนที่ถูกวิธีควรจับตรงปลายของด้ามค้อน  และเหวี่ยงน้ำหนักให้พอเหมาะ  ตะปูจะได้ไม่คดงอ
ค้อนหัวกลม

                        ค้อนหัวกลม  เป็นค้อนที่ใช้กับงานโลหะ  ใช้ในงานตอก  หรือทุบโลหะ  พับโลหะ  หรือเคาะโลหะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ
ค้อนหัวเหลี่ยม
img156.gif

ค้อนหัวเหลี่ยมหรือค้อนเล็ก   มีรูปร่างเล็ก  น้ำหนักเบา  ใช้ในงานตอกเข็มขัดรัดสายไฟ  และงานไฟฟ้าทั่วไป  ซึ่งเรียกกันติดปากว่า  ค้อนตอกสายไฟหรือค้อนเดินสายไฟ  รูปร่างลักษณะของหัวค้อนด้านหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ด้านหลังจะเรียวแบนโค้งเล็กน้อยตามความเหมาะสม  เพื่อสะดวกในการใช้งานบริเวณที่เข้ามุมหรือพื้นที่แคบ ๆ
                        การใช้และการเก็บบำรุงรักษาค้อน  แบ่งออกได้ดังนี้
                            1.  ก่อนการใช้งาน  ก่อนใช้ควรตรวจความเรียบร้อยของตัวด้ามและหัวค้อนให้แน่นและแข็งแรง
                            2.  ถอนตะปูด้วยความระมัดระวัง  ถ้าตะปูตัวโตหรือแน่นมาก  การถอนควรใช้ไม้รองหัวค้อนเพื่อผ่อนแรง  แล้วค่อย ๆ งัดโดยออกแรงเพิ่มทีละน้อย  ถ้างัดแรง ๆ ด้ามค้อนอาจจะหักชำรุดได้
                            3.  หลังจากการใช้งาน  เมื่อเลิกใช้งานควรทำความสะอาด  และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

                                เครื่องมือประเภทเจาะ

สว่านเฟือง


                สว่านเฟือง  เป็นสว่านที่ใช้เจาะรูกับงานไม้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า  สามารถเปลี่ยนดอกสว่านได้ตามความต้องการ  เพื่อเจาะรูบนเนื้อไม้ในรูปแบบต่าง ๆ  โดยใช้แรงกดของมือข้างหนึ่ง  และหมุนอีกข้างหนึ่ง  ในการเจาะรูสามารถเจาะไม้ที่มีความหนามาก ๆ ได้  และควรทำงานด้วยความระมัดระวัง  ไม่ควรกดแรงเกินไปเพราะจะทำให้ดอกสว่านหักได้

สว่านแท่น

                        สว่านแท่นหรือสว่านตั้งพื้น    เป็นสว่านขนาดใหญ่มีแท่นสำหรับจับยึดชิ้นงานหรือใช้สำหรับวางปากกาจับชิ้นงานการติดตั้งจะติดตั้งอยู่กับที่  จึงเหมาะสำหรับการเจาะชิ้นงานที่สามารถนำมาวางบนแท่นจับยึดบนแท่นจับงาน  หรือปากกาจับชิ้นงาน

                        การใช้และการบำรุงรักษา
  1. ก่อนใช้ควรตรวจดูสภาพของเครื่องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  2. เลือกดอกสว่านให้เหมาะกับชิ้นงาน
  3. เมื่อใช้ประแจขันหัวจับดอกสว่านแล้วควรดึงออกทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตราย
  4. อย่าจับหัวดอกสว่านให้หยุดด้วยมือ
  5. ควรใช้อุปกรณ์ในการจับยึดให้แน่น
  6. ควรใช้แปรงปัดเศษโลหะที่เจาะ
  7. ก่อนใช้เครื่องควรหยอดน้ำมัน
  8. ไม่ควรตีหรือเคาะงานแรง ๆ บนแท่นเจาะ
  9. อย่าใช้แกนเจาะสว่านเป็นที่อัดหรือเจาะ
  10. หลังใช้งาน ปัด เช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง


สว่านไฟฟ้า


                            สว่านมือไฟฟ้า     เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเจาะรูมีไฟฟ้าเป็นตัวต้นกำลัง  และมี
การปรับความเร็วรอบของสว่าน  แต่จะมีขนาดของรูเจาะที่ไม่ใหญ่มาก   
               
                วิธีใช้และการบำรุงรักษา 
                            1.  เลือกสว่านให้เหมาะสมกับงาน
                            2.  ใส่ดอกสว่านให้ตรงแน่นก่อนใช้งาน
                            3.  ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน  จับชิ้นงานไว้ให้แน่น
                            4.  ถ้าต้องการเจาะรูโร  ควรใช้ดอกสว่านเล็กนำก่อน
                            5.   ขณะเจาะควรคลายให้เศษวัสดุออกบ้าง  เพื่อลดแรงกด  ทั้งป้องกันมิให้ดอกสว่านร้อนหรือหัก
                            6.   หากชิ้นงานที่เจาะเป็นไม้  ก่อนทะลุควรกลับไม้เจาะด้านตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้แตก
                            7.   การเจาะด้วยสว่านไฟฟ้าไม่ควรล็อกปุ่มกดสวิตช์  และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
                            8.   เมื่อเลิกใช้งานให้ถอดดอกสว่านออกจากตัวสว่าน  ทำความสะอาด  เก็บเข้าที่   ให้เรียบร้อย

                            เครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้ในงานช่าง
                            ไขควง  Screw  driver  ไขควงใช้สำหรับขันตะปูเกลียวเพื่อจับยึด  ไขควง 
มี  2  ชนิด  ตามลักษณะการใช้งาน
                                   1.  ไขควงปากแบน

                                   ลักษณะการใช้งาน
                                   ไขควงปากแบน  ใช้สำหรับถอดตะปูเกลียวหัวผ่าเท่านั้น  อย่าใช้งัดฝากระป๋องหรือตอกสิ่งใด ๆ  ควรซื้อเฉพาะไขควงที่ทำด้วยเหล็กคุณภาพดี
                                   ไขควงปากแบนมีทั้งปากใหญ่และปากเล็ก  ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของตะปูเกลียว  ถ้าใช้ปากเล็กเกินไป  หรือปากบางเกินไป  อาจทำให้ไขพลาด  ร่องตะปูเยิน
                                   ปากไขควงจะต้องฝนให้ส่วนแบนทั้งสองด้านขนานกัน  เพราะมิฉะนั้นปากจะไม่จับกับร่องหัวตะปู  ทำให้ไขพลาด  ลื่น
                                   อย่างใช้ไขควงปากแบนไปไขตะปูหัวแฉก  เพราะจะทำให้ร่องตะปูเยินชำรุด
                            การดูแลรักษา  เช็ดทำความสะอาดหลังใช้งาน  เก็บในที่ปลอดภัย
                                   2. ไขควงปากแฉก

                                   ลักษณะการใช้งาน
                                   ไขควงปากแฉก  ใช้สำหรับถอดและขันตะปูเกลียวปากแฉก  ซึ่งมีที่ใช้มากในการยึดอุปกรณ์ภายในของรถยนต์  เพราะไม่ลื่นไถลง่ายเหมือนตะปูหัวผ่าธรรมดา 
                     
                                  วิธีใช้และการบำรุงรักษา 
                                  1.  ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัดหรือค้อน
                                  2.  ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมัน  เพราะอาจเกิดพลาดพลั้งกระแทกมือได้
                                  3.  ควรเลือกใช้ไขควงที่มีปากลักษณะเดียวกับชนิดของหัวสกรู
                                  4.  การใช้ไขควง  ควรจับที่ด้ามของไขควง  ไม่ควรใช้คีมจับด้ามไขควงขันสกรู
                                  5.  ใช้ไขควงที่มีด้ามเป็นฉนวนในงานช่างไฟฟ้า
                                  6.  ถ้าไขควงชำรุดต้องซ่อมทันที
                                  7.   หลีกเลี่ยงการใช้ไขควงถอดหรือคลายสกรูเก่าที่ชำรุด
                                  8.  เมื่อเลิกใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
                     
                คีม  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับ  ตัด  ดัด  งอโค้ง  ด้ามมีฉนวนหุ้มจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน มีความปลอดภัยในการทำงาน
คีมปากจระเข้

  

คีมปากจิ้งจก


คีมปอกและตัดสาย


คีมย้ำหัวต่อสาย
                     
                             วิธีใช้และการบำรุงรักษา 
                            1.  ใช้คีมให้เหมาะกับงาน
                            2.  ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว  เพราะจะทำให้ปากคีมเยิน
                            3.  ไม่ควรใช้คีมต่างค้อน
                            4.  ก่อนใช้ควรตรวจฉนวนหุ้มให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
                            5.   เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาด  เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 http://www.tkschool.ac.th/~chusak/page4.html


ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมืองานช่างไม้

ความปลอดภัย นับว่าเป็น ความสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงาน เมื่อใดที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัท จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก ความปลอดภัยถูกตั้งขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ ผ่านหน่วยงานการป้องกันความปลอดภัยและสุขภาพตามพระราชบัญญัติ มีการวางระเบียบการป้องกันของลูกจ้างในรูปแบบของการททำงานการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาปฏิบัติ ปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ในโรงเรียนด้วย นอกจากนี้ยังได้กำหนดกฎเกณฑ์ในเรื่องของงการรักษามลภาวะทางเสียงและอากาศ เพิ่มเข้าไปในมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
ในการทำงานไม้ จะต้องเตรียมความพร้อมเสมอในเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเครื่องจักรกลต่างๆ และพื้นที่ทำงาน เพราะบางครั้งการทำบางสิ่งโดยไม่ไตร่ตรองอาจเกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่รู้ตัว การทำงานที่ประมาทจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หรือให้เกิดความผิดพลาดต่องานได้ ก่อนที่จะเริ่มทำงานจึงควรปฏิบัติดังนี้

  • เรียนรู้เรื่องกฎความปลอดภัย
  • ทำงานตามขั้นและเวลา
  • รู้ว่าส่วนไหนและวิธีการป้องกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ความปลอดภัยในการทำงาน

  • ทำงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
  • ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในการททำงาที่ถูกต้องและปลอดภัย
  • อย่าลืมคำว่า “ความถูกต้อง ต้องมาเป็นอันดับแรก”
  • คำขวัญที่ดีกล่าวได้ว่า “สิ่งที่ดีที่สุดคือ ความปลอดภัย”
  • หลีกเลี่ยงการเล่นอย่างคึกคะนอง และให้ความสนใจป้ายเตือนต่างๆ ในสถานที่ทำงาน
  • เสื้อผ้าที่หลวมจะโดนเครื่องจักรดึงหรือ กระชากได้ เสื้อที่มีแขวนยาวควนติดกระดุมข้อมือให้แน่น หรือพับให้ถึงข้อศอก เสื้อผ้าที่ควรใช้ทำงานไม่ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อฝึกงาน
  • ควรถอดแหวน นาฬิกา และเครื่องประดับอื่นๆ ก่อนที่จะทำงานกับเครื่องมือ และเครื่องจักร
  • ควรสวมแว่นป้องกันแสงหรือป้องกันสายตา ประกอบด้วยเครื่องบังเพื่อป้องกันดวงตาจากเศษไม้ ตะปู ขี้เลื่อย และรอยเปื้อนต่างๆ
  • ควรสวมเสื้อป้องกันหูเมื่อทำงานรอบๆ เครื่องจักรในระยะเวลานานๆ
  • ควรเก็บหรือรวบรวมผมที่ยาวให้ห่างจากเครื่องจักรที่กำลังทำงาน การผูกผมไว้ด้านหลังหรือใช้ผ้าคลุมผม จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ส่วนหนึ่ง
  • เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และเข้าใจกฎความปลอดภัยของเครื่องมือและเครื่องจักรที่ซื้อมา ตลอดจนเรียนรู้คำเตือนจากป้ายสัญญาณ เช่น ป้ายหยุด
  • เครื่องตัดไม้ที่คมจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายและดี ส่วนใบมีดที่ไม่คมจะทำให้ลื่นและอาจพลาดไปถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
  • ไม่ควรทดสอบความคมของเครื่องมือด้วยอวัยวะของร่างกาย แต่ควรใช้ไม้หรือกระดานแทน
  • นิ้วมือควรจะให้ห่างจากคมมีดของเครื่องมือ และใช้ไม้หรือวัสดุอื่นตัด
  • ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้นิ้วหรือมือในการสตาร์ตเครื่องจักร
  • ต้องมั่นใจว่าเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในสภาพดี ควรตรวจสอบความเรียบร้อยว่าไม่แตกหักหรือหลวม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
  • ต้องไม่ใช้เครื่องมือผิดวิธี เช่น ไม่ควรใช้สิ่วเปิดกล่องไม้หรือกระป๋อง ต้องใช้เครื่องมือให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง
การเก็บรักษาเครื่องมือ
  • ดูแลรักษาความสะอาดบนโต๊ะฝึกงานและพื้นที่รอบๆ
  • เก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
  • ตรวจสอบเครื่องมือด้วยน้ำมันหรือจาระบี เพื่อรักษาเครื่องมือที่เป็นโลหะ
  • ควรเก็บเศษวัสดุดิบใส่ในกล่องหรือถังเก็บ
  • ทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน เพราะความสะอาดในโรงงานเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง
การรายงานอุบัติเหตุ
การรายงานอุบัติเหตุต่างๆ ไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงเล็กน้อย และสิ่งที่ช่วยกันอันดับแรก คือ เมื่อมีแผลที่เกิดจากการตัดหรือขีดข่วน ซึ่งจะทำให้เชื้อ โรคเข้าไปในบาดแผลได้ หรือบางสิ่งบางอย่างเข้าตาแม้เพียงเล็กน้อย ต้องไปให้แพทย์ตรวจทันที


http://www.thaiwoodcentral.com/blog


กลุ่มของผมก็ขอรายงานเพียงเท่านี้ขอบคุณคับ